- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกั นและกัน นั่นหมายความว่าสามีจะหาเลี้ยงภรรยา หรือภรรยาจะหาเลี้ยงสามี หรือจะช่วยดูแลกันและกันก็ได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงหรือภรรยามีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุลขอ งสามี หรือจะไม่ใช้ก็ได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้หญิงต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไท ยตามสามีได้ (ถ้าอยากถือสัญชาติไทย)
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์จัดการสินสมรสร่วม กัน (ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรส)
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์รับมรดกของคู่ สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
- การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือนายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยามีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียก ค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสี ยชีวิตได้ เช่น สามีโดนรถชน ภรรยาสามารถเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสขอ งตัวเองได้อย่างออกหน้าออกตามกฎหมาย และหากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเอง และเรียกค่าเสียหายได้จากชู้ด้วย
- การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และรับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมของแม่อยู่แล้ว)
- การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
- การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผ ู้ที่ร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น ภรรยาโดนกระชากกระเป๋า สามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้ หรือ สามีโดนคนพูดจาหมิ่นประมาทว่าร้าย ภรรยาก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทฝ่ายตรงข้ามแทนสามีได้
ทะเบียนสมรสมีผลทางกฎหมายตลอดไปจนกว่าจะมีการจดทะเบียนหย่ า ต้องตกลงกันด้วยเหตุผลและหลักฐานต่างๆ ประกอบ รวมถึงการหาข้อตกลงต่างๆ เช่น การแบ่งสินสมรส สิทธิ์การดูแลบุตร ค่าเลี้ยงดู เป็นต้น
จดทะเบียนสมรสซ้อนจะถือการจดทะเบียนครั้งหลังเป็นโมฆะ การจดทะเบียนสมรสครั้งแรกจึงจะได้สิทธิ์ตามกฎหมายจนกว่าจะ มีการจดทะเบียนหย่า