มีอาการดังนี้: หลังจากหายป่วย เหงือกบวม ปวดเหงือกและปวดศรีษะตรงเส้นประสาท หากดูช่องปากจะพบเงือกสีแดงค้ำนั้นคือสาเหตุมาจากร้อนใน ทำให้ปากเป็นแผล
เบื้องต้นแนะนำ
- ให้ทานกินยาแก้ปวดไม่เช่นนั้นจะนอนไม่ได้ ทานอาหารก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน
- ใช้เกลือแกงผสมน้ำค่อยบ้วนปากจะหยุดการเจริญเติบโตของแบคท ีเลียในช่องปาก
- หยุดใช้น้ำยาบ้วนปากชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปทั่วปาก หรือเข้าไปในแผล
การรักษา: เดินไปร้านขายยาบอกอาการ ปากบวมพร้อมปวดฟัน หมอจะจัดยาให้ 2 อย่างคือยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ทานพร้อมกันวันละ 3 มือหลังอาหารประมาณ 3-5 วันอาการจะหายไปเองตามธรรมชาติ
สมุนไพรแก้ร้อนใน
สมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในมีอยู่ด้วยกันมากมายหล ายชนิด (มากกว่าร้อยชนิด) แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง ยาสมุนไพรแก้ร้อนในแผนโบราณที่จัดอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชา ติเท่านั้น ได้แก่
ยาบัวบก (Centella asiatica (L.) Urb.) เป็นผงสกัดที่ได้จากส่วนเหนือดินของต้นบัวบก ซึ่งตัวยาจะอยู่ในรูปแบบของยาชงและยาแคปซูล ชนิดชงให้รับประทานครั้งละ 2-4 กรัม โดยใช้ชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ส่วนชนิดแคปซูลใช้รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร ซึ่งจะมีคำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยาดังนี้
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้สมุนไพรในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) เช่น ผักชี ผักชีล้อม แคร์รอต
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากฤทธิ์ของยาอาจไปบดบังอาการของไข้เลือดออก
- ยานี้สามารถใช้ได้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
- หลังการใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ง่วงนอน คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง มวนท้อง ท้องอืด ปัสสาวะบ่อย
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 2-3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเกิดพิษต่อตับ (อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย)
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีผลต่อตับ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาขับปัสสาวะ, ยาที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน เช่น ยานอนหลับ เพราะตัวยาอาจเสริมฤทธิ์กัน, ยาที่มีกระบวนการเมตาบอลิซึมผ่าน Cytochrome P450 (CYP 450) เช่น ยาต้านไวรัสบางชนิด เนื่องจากยาบัวบกนั้นมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ CYP 2C9 และ CYP 2C19
- สมุนไพรชนิดนี้อาจเพิ่มระดับน้ำตาลและคอเลสเตอรอลในเลือดไ ด้ และทำให้ประสิทธิภาพของยาลดน้ำตาลและยาลดคอเลสเตอรอลลดลง
ยารางจืด (Thunbergia laurifolia Lindl.) เป็นผงสกัดที่ได้จากใบรางจืดที่โตเต็มที่ ซึ่งตัวยาจะอยู่ในรูปแบบของยาชงและยาแคปซูล ชนิดชงให้รับประทานครั้งละ 2-3 กรัม โดยใช้ชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้งก่อนอาหารหรือเมื่อมีอาการ ส่วนชนิดแคปซูล ให้รับประทานครั้งละ 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ซึ่งจะมีคำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยาดังนี้
- ยานี้สามารถใช้ได้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากฤทธิ์ของยาอาจไปบดบังอาการของไข้เลือดออก
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 2-3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์
- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ควรระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาอื่น ๆ เพราะยารางจืดอาจเร่งการขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพของยาเหล่านั้นลดลงได้
ยามะระขี้นก (Momordica charantia L.) เป็นผงสกัดจากเนื้อผลแก่ที่ยังไม่สุกของผลมะระขี้นก ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ ยาชง ยาแคปซูล และยาเม็ด ชนิดชงให้ใช้ครั้งละ 1-2 กรัม ชงกับน้ำร้อนประมาณ 120-200 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ส่วนแบบแคปซูลและยาเม็ด ให้รับประทานครั้งละ 500-1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ซึ่งจะมีคำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยาดังนี้
- ห้ามใช้ยานี้ในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมากจนเกิดอาการชั กได้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากฤทธิ์ของยาอาจไปบดบังอาการของไข้เลือดออก
- ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดรับ ประทานหรือร่วมกับการฉีดอินซูลิน เพราะตัวยาอาจเสริมฤทธิ์กันได้
- ควรระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ เพราะเคยมีรายงานว่าทำให้ตับเกิดการอักเสบได้
- หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน 2-3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรหยุดใช้แล้วไปพบแพทย์
- หลังการใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ วิงเวียน ชาปลายมือปลายเท้า เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจนช็อก เกิดอาการชักในเด็ก ท้องเดิน ท้องอืด ปวดศีรษะ และอาจเพิ่มระดับเอนไซม์ตับในเลือดได้