ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

มอก. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

มอก. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

โพสต์ใน: ไฟฟ้า / อิเล็กทรอนิกส์ / - โดย - May 10, 2018

วิธีสังเกต ปลั๊กพ่วง ที่ได้รับมาตรฐาน มอก.ปลั๊กพ่วงฉบับล่าสุด มอก.2432-2555

  1. มีสัญลักษณ์มาตรฐานมอก.2432-2555 เท่านั้น
  2. ขอบข่ายการใช้คือมากกว่า 50V แต่ไม่ถึง 440V และขอบข่ายของแอมแปร์ห้ามมากกว่า 16A (แอมป์)
  3. วัสดุที่ผลิตควรเป็นโพลีคาร์บอเนต คุณภาพสูงไม่ติดไฟ
  4. หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขา ตัวเต้ารับมีสวิตซ์เปิด-ปิดพร้อมขั้วสายดิ
  5. ต้องมีตัวตัดไฟ และห้ามใช้ฟิวส์เป็นตัวตัดไฟเด็ดขาด
  6. ตัวเต้ารับควรมีม่านเปิด-ปิดช่อง ตามมอก.166-2549
  7. สายไฟต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 หรือมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับมอก.955

มอก.ฉบับนี้บังคับใช้กับปลั๊กพ่วงแบบหยิบยกได้และชุดสายพ่ วงที่มีจำหน่ายในไทย เริ่มตั้งแต่ 24 กุมภาพันธ์ 2561

สำหรับผู้ค้า หลังจากมอก. ปลั๊กพ่วงมีผลบังคับใช้สินค้าสต็อกเก่า สามารถจำหน่ายได้จนหมด แต่ห้ามนำเข้าสต็อกใหม่ หรือห้ามผลิตใหม่ถ้าไม่ได้รับตราเครื่องหมาย มอก.หากพบว่ามีการกระทำผิดจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายทันที สำหรับบทลงโทษในกรณีทำหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมโดยไม ่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่เป็นไปตามมาตร ฐาน มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และแสดงเครื่องหมาย มอก.โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 3 เดือน ปรับตั้งแต่ 100,000-1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มองแล้วถือเป็นผลดีของผู้บริโภคที่จะได้มีความเชื่อมั่นกั บการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงในอนาคต เนื่องจากมอก.ฉบับนี้ทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าต้องหาสินค้าที ่มีสัญลักษณ์มอก. มาจำหน่าย

 

ดูวิดิโอ

เราจะต้องดูอะไรบ้าง?

ในการซื้อปลั๊กรางโดยทั่วๆ ไป เรามักจะเห็นสติ้กเกอร์ ระบุ สายไฟ มี มอก. แต่อันที่จริงแล้ว มาตรฐาน มอก. ไม่ได้มีแค่สายไฟเท่านั้น แต่มี มอก. เต้าเสียบ มอก. สวิตซ์ แล้วก็มี มอก. ที่ควบคุมทั้งตัวปลั๊กรางทั้งชุด ในบทความนี้ ขอใช้คำว่า ปลั๊กพ่วง ขอให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึง ปลั๊กรางที่เราพูดกันในภาษาพูดทั่วๆ ไป

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

 

มาตรฐาน มอก.2432-2555 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยในการผลิตปลั๊กพ่วง ที่่จะต้องผลิตภายใต้ข้อกำหนดนี้เท่านั้น โดยปลั๊กพ่วงที่ผลิตตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป จะต้องตรงตามมาตรฐานนี้ แต่ที่เราเห็นตามร้านทั่วไป ณ ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2561) ยังมีปลั๊กพ่วงที่ผลิตไว้ก่อนหน้านี้วางจำหน่ายอยู่ ซึ่งสต็อกที่มีตามร้าน น่าจะมีของขายไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่ปลั๊กพ่วงที่ผลิตใหม่ หลังวันที่บอกจะไม่มีมาตรฐานเดิมอีกแล้ว เพราะจะต้องผลิตตามมาตรฐานใหม่ทั้งหมด

และสำหรับใครที่สงสัยว่า แล้วมอก. ฉบับใหม่นี้ กระทบอะไรกับชีวิตของคนทั่วๆ ไปอย่างเรา? ก็ต้องบอกว่า ใครที่มียี่ห้อปลั๊กพ่วงในดวงใจ เสียก็ซื้อแบรนด์ในดวงใจ โดยเฉพาะแบรนด์นอก ก็อาจจะต้องรีบหาซื้อมาตุน เพราะแบรนด์ต่างๆ ที่เราคุ้นเคยจะไม่ตรงตามมาตรฐานนี้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มาตรฐานนี้ ออกมาก็เพื่อสร้างมาตรฐานลดความเสี่ยงเพลิงไหม้ - ไฟฟ้าลัดวงจร ส่วนใหญ่ก็มาจาก เรื่องแรงดันไฟ กำลังไฟ โดยเฉพาะปลั๊กพ่วง ที่ไม่สามารถรองรับแรงดันไฟเกินจากที่จ่ายกระแสไฟฟ้าได้ ทำให้มีความเสี่ยงในการลัดวงจร เพราะสาเหตุฟิวส์ไม่ตัดไฟ

มอก. ฉบับใหม่ มีการกำหนดเรื่องแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 440V กระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16A และถ้าไล่ดูมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก.2432-2555 ก็คือ อุปกรณ์ตัดไฟจะต้องไม่ใช้ฟิวส์ อันนี้ ปลั๊กพ่วงยี่ห้อที่่เราคุ้นเคยตามตลาดทั่วไป ไม่ผ่านคุณสมบัติข้อนี้ คือจะต้องใช้เป็น วงจรตัดไฟที่ไม่ใช่ฟิวส์

6 ข้อพิจารณาปลั๊กพ่วงที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน

1) สังเกตเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. บนตัวปลั๊ก

ถ้าซื้ออาหาร, ขนม, อาหารเสริมต้องดู อย. จะซื้อปลั๊กพ่วง ก็ต้องดูเครื่องหมาย มอก. ทุกครั้ง ซึ่งสัญลักษณ์ จะติดอยู่บนตัวปลั๊กเลย ไม่ใช่แค่สายไฟ หรือบนห่อพลาสติก

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

2) เต้ารับ จะต้องมีตัวปิดช่อง กันนิ้วแหย่

อันนี้แปลกไปจากปลั๊กพ่วงปกติที่เราเห็นขายตามท้องตลาดทั่ วไป ที่มีปลั๊กเรามองเห็นรูโบ๋ๆ แต่อันนี้จะต้องมีตัวม่านมาปิดช่องปลั๊กหรือเต้ารับ เพื่อป้องกันนิ้วมือผู้ใช้สัมผัสกับแผ่นทองเหลืองด้านใน (ตามภาพ) แล้วก็จะต้องมีขั้วสายดินด้วย เพื่อความปลอดภัย

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

3) เต้าเสียบ จะต้องมีฉนวนกันกระแสไฟฟ้าที่โคนขาปลั๊กไฟ

ฉนวนก็คือ ยางสีดำๆ รอบๆ ขาปลั๊ก เวลาเราเสียบปลั๊ก แล้วเผลอเอานิ้วไปแตะปลั๊กไฟ จะได้ปลอดภัย

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

4) เต้ารับและเต้าเสียบ จะต้องแน่น

ไม่หลวม พอดีกัน ไม่แน่ ไม่หลวมจนเกินไป หนึ่งในสาเหตุปลั๊กร้อนเพราะเต้าเสียบหลวมก็ส่งผลให้เกิดเ พลิงไหม้ได้

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

5) ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน

สำหรับปลั๊กพ่วงที่มีเต้ารับตั้งแต่ 3 ช่องขึ้นไป จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ใน มอก. ระบุชัดเจนว่า "ห้ามใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน" แนะนำให้ดูปลั๊กที่มีเบรกเกอร์ในตัวครับ

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

6) เลือกชุดสายพ่วงที่มีขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่าอุปกรณ ์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกัน

สำหรับการเลือกซื้อนั้น เราจะต้องคิดคำนวณก่อนว่า เราเอาไปเสียบกับอุปกรณ์อะไร กินไฟเยอะแค่ไหน

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555


วิธีคำนวณว่า จะซื้อปลั๊กพ่วงขนาดเท่าไหรดี

ให้พิจารณาว่า เราใช้กับอุปกรณ์อะไร เช่น เครื่องปิ้งขนมปัง มีขนาดกำลังไฟ 700 วัตต์ ส่วนพัดลม ใช้กำลังไฟ 61 วัตต์ (เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้น จะมีระบุกำลังไฟไว้ด้านหลังหรือท้ายอุปกรณ์) ลองตรวจสอบดูครับ ว่าเรามีอุปกรณ์อะไรบ้างที่จะใช้กับปลั๊กพ่วงเดียวกัน เผื่อกำลังไฟไว้รองรับตอนเราเปิดพร้อมกันทุกอุปกรณ์ครับ

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

สาเหตุหนึ่งของไฟฟ้าลัดวงจร ก็เป็นเพราะเปิดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าพร้อมกันหลายชิ้น แล้วสายไฟ รับโหลดกำลังไฟไม่ไหว ทำให้เกิดความร้อนบนปลั๊ก สายละลาย ลัดวงจร เกิดเพลิงไหม้ได้

เต้ารับแบบ 3 ขากลม

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

ลืมปลั๊กแบน 2 ขา กับปลั๊กแบน 2 กลม 1 (หรือปลั๊กคอม) แบบเดิมๆ ทิ้งไปได้เลย เพราะมาตรฐาน
มอก. ฉบับใหม่ มีความแปลกตาเรามากที่สุดก็คือ เต้าเสียบต้องเป็นไปตาม มอก.166-2549 เป็นแบบ 3 ขากลม

ยืนยันความแปลกด้วยข้อความ "Type O is used exclusively in Thailand" อ้างอิงจาก เว็บไซต์ https://www.worldstandards.eu/electricity/plugs-and-sockets/o/

นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานสายไฟด้วย ทั้งพื้นที่หน้าตัดสายไฟ และความยาวสูงสุดของสายไฟอ่อน แต่ผู้ใช้ทั่วๆ ไปคงไม่ต้องพิจารณามากขนาดนั้น เอาเป็นว่า ครบถ้วนตามด้านบนก็พอแล้วครับ

รายละเอียดลึกๆ อ่านได้ที่ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/E/005/5.PDF


ทำไมต้องเข้มงวดกับ มอก.2432-2555 มากนัก?

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

ก็เพราะว่า ความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ - ไฟฟ้าลัดวงจร นั่นเองครับ รู้ไหมว่า หนึ่งในสาเหตุของเพลิงไหม้ ก็คือ ปลั๊กพ่วงไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ปลั๊กพ่วงชำรุด มีรอยขาด ไหม้ เสียบอุปกรณ์ใช้กระแสไฟเกินกว่าที่ปลั๊กพ่วงรองรับไหว

[Thaiware Infographic 58] รู้จักมาตรฐาน มอก. ปลั๊กพ่วง มอก. 2432-2555

ย้ำว่า ให้ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน เพราะปลั๊กพ่วงใช้ชั่วคราว ไม่ควรนำมาใช้ถาวร ปิดท้าย มาตรฐานใหม่ แม้จะยาก แต่ก็ปลอดภัย และที่แน่ๆ ราคาก็สูงกว่าเดิมด้วยครับ


ที่มา : pr.tisi.go.th , pessth.panasonic.co.th , www.worldstandards.eu , www.toshino.com , www.ratchakitcha.soc.go.th

Electronics

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: