เงินเฟ้อ คืออะไร
เงินเฟ้อ หรือ Inflation คือช่วงราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนอย่างเรามีกำลังซื้อที่ลดน้อยลง เนื่องจากมูลค่าของเงินลดลง ซึ่งเราจะรู้ได้จากดัชนีราคาผู้บริโภคที่จ่ายประจำ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า เช่น
- ช่วงปี 4 – 5 ปีที่ผ่านมา เราเคยเติมก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี ขนาด 15 กิโลกรัม ถังละ 345 บาท แต่อยู่ ๆ ปรับเพิ่มขึ้นอีกถังละ 10 บาท ทำให้ต้องจ่ายราคาก๊าซหุงต้มเพิ่มเป็นถังละ 355 บาท
- หรืออาหารตามสั่งที่ปกติราคาจานละ 30 – 35 บาท แต่ปัจจุบันต้องจ่ายเพิ่มเป็นจานละ 50 – 70 บาท เป็นต้น
นั่นแปลว่า ได้เกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นแล้ว เนื่องจากเงินจำนวนเท่าเดิมที่เราถืออยู่มีมูลค่าที่ซื้อข องได้น้อยลงนั่นเอง ซึ่งในบ้านเราจะคำนวณการเปลี่ยนราคาสินค้าและบริการทั่วไป จากสำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ครอบคลุมสินค้าทั้งหมด 422 รายการ และใช้ราคาของปี 2558 เป็นปีฐานในการคำนวณ เพื่อให้ได้ดัชนีที่สอดคล้องกับการบริโภค และเพื่อเป็นการปรับฐานการคำนวณเงินเฟ้อเป็นประจำทุก 4 – 5 ปี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
เงินเฟ้อจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบต่อชีวิต ทั้งเรื่องเงินเดือน ค่าจ้าง ค่าโดยสารรถเมล์ รถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน ค่าน้ำ ค่าอาหาร ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ ที่เราต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถอีกด้วย
เงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 61 เพิ่มขึ้น 1.38% จากราคาน้ำมันแพง
กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ดัชนีเงินเฟ้อราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมิถุนายน 2561 เท่ากับ 102.05 ลดลง 0.09% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2561 และเพิ่มขึ้น 1.38% เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2560 เป็นการขยายตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกันนับจากเดือนกรกฎาคม 2560 ที่เงินเฟ้อสูงขึ้น 0.17% ส่งผลให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้น 0.97%
สาเหตุที่เดือนมิถุนายน เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.38% เป็นผลจากดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่ม2.20% สินค้าสำคัญที่ราคาแพงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้น 12.90% หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้น 5.86% ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าหอพัก เพิ่มขึ้น 1.12% ค่ารักษาและบริการส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นอีก 0.65%
ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเงินเฟ้อพื้นฐาน 6 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้น 0.69% โดยสินค้าอาหารสดและพลังงาน ในเดือนมิถุนายน 2561 เพิ่มขึ้น 0.11% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2561 และเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2560 พบว่าเพิ่มขึ้น 0.83% คาดว่าแนวโน้มเงินเฟ้อไตรมาส 3 น่าจะขยายตัวเพิ่ม 1.35% และไตรมาส 4 เพิ่ม 1.5% ทำให้ทั้งปีเงินเฟ้อน่าจะอยู่ในระดับ 1% โดยค่ากลางอยู่ที่ 1.2%
ขณะที่ อัตราการว่างงานในเดือนมิถุนายน 2561 อยู่ที่ 1.0% ของกำลังแรงงานรวม หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 4.2 แสนคน ทำให้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2561 อัตราการว่างงานอยู่ที่ 1.1% ของกำลังแรงงานรวม
วางแผนเงินออมในอนาคตให้ชนะ เงินเฟ้อ
หากคิดอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี การวางแผนในการลงทุนอย่างถูกต้องที่จะช่วยให้เรามีเงินออม ไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ ในแต่ละช่วงอายุย่อมมีการลงทุนที่แตกต่างกันออกไป โดยเริ่มที่…
- วัยเริ่มต้นทำงาน (21-30 ปี) สามารถออมและลงทุนได้นาน การลงทุนในความเสี่ยงจึงมีได้มากเพื่อให้รับผลตอบแทนที่ดี เช่น หุ้นหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ผลตอบแทนสูงสัดส่วน 70% ส่วนที่เหลือ นำไปลงทุนในกองทุนรวมผสม
- วัยสร้างครอบครัว (30-45 ปี) ความเสี่ยงในการลงทุนเริ่มลดลง เพราะจำเป็นต้องใช้เงินในการสร้างครอบครัว ดังนั้นการวางแผนการลงทุน 50% อาจลงในหุ้นและกองทุนรวมหุ้นระยะยาว อีก 30% ลงทุนในกองทุนรวมผสม และอีก 20% นำไปลงทุนในเงินฝากเพื่อสร้างสภาพคล่อง หรือทำประกันชีวิตที่เน้นการป้องกันความเสี่ยง อีกทั้งเพื่อใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้
- วัยก่อนเกษียณอายุ (45-55 ปี) คนที่กำลังก้าวสู่วัยเกษียณ ไม่ควรจะนำเงินออมไปลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นการลงทุนจึงเน้นความเสี่ยงปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ โดย 70% ลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวมตราสารหนี้ หรือประกันชีวิต ส่วนอีก 30% ลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพื่อลดความเสี่ยง
เงินฝืด คืออะไร
เงินฝืด หรือ Deflation คือ ภาวะปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าหรือบริการมีน้อยกว่ าปริมาณความต้องการในการขายสินค้าหรือบริการ ทำให้สินค้าเหลือเกินความต้องการ จนต้องลดการผลิตลงเพราะว่าถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็อาจจะขาย ได้ในจำนวนที่น้อยลง อีกทั้งการจ้างงานก็น้อยลง หรือถูกเลิกจ้างได้ เป็นต้น ขณะที่ประชาชนอย่างเราเองก็เก็บเงินไว้กับตัวมากขึ้น ทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศน้อยลงด้วย และเกิดจากการที่รัฐบาลจัดเก็บภาษีมากเกินไป ทำให้ปริมาณเงินที่ประชาชนจะซื้อสินค้ามีน้อยลงด้วยเช่นกั น ซึ่งถือว่าเป็นสถานการณ์ตรงข้ามกับเงินเฟ้ออย่างสิ้นเชิง
เงินฝืดเกิดจากอะไรบ้าง?
- ดอกเบี้ยสูงขึ้น เป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เงินทุนไหลออกเป็นระยะเวลาติดต่อก ันนานเกินไป จึงเป็นเหตุให้เงินทุนลดน้อย
- การดำเนินนโยบายการเงินและการคลังของรัฐบาล มีความผิดพลาดเช่น ขึ้นดอกเบี้ยในตลาดการเงินสูงเกินจนสถาบันการเงิน โดยเฉพาะสินเชื่อเงินกู้แก่ลูกค้า หรือมีการจัดเก็บภาษีทางตรงสูงมากจนประชาชนเหลือเงินใช้จ่ ายน้อยเกินไป
- เกิดจากรัฐบาลจัดพิมพ์ธนบัตรหมุนเวียนออกมาใช้ไม่เพียงพอก ับความจำเป็นของภาวะเศรษฐกิจขณะนั้นก็ได้
- การลดลงของอัตราแลกเปลี่ยน หรือมาตรการปรับลดภาษีของรัฐบาล จนปริมาณเงินหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจ
- ประชาชนไม่ออมเงินในระบบการเงิน จนทำให้เงินออมในระบบลดลง แต่หันไปออมแบบอื่น เช่น เก็บตุนไว้ในตู้เซฟ
การแก้ไขภาวะเงินฝืด
- ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในม ือประชาชนให้มากขึ้น ทำให้ปริมาณความต้องการในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มข ึ้น
- ขยายเครดิตหรือปล่อยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ไปยังกลุ่มผู้ ประกอบการ หรือผู้ผลิต เพื่อช่วยให้การผลิตดำรงอยู่ได้
- ลดการขายพันธบัตรรัฐบาลให้ธนาคารพาณิชย์และประชาชน แต่เพิ่มการรับชื้อพันธบัตรรัฐบาลคืนจากประชาชนให้มากขึ้น
- รัฐบาลใช้งบประมาณแบบขาดดุล โดยการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐให้มากขึ้น และลดรายได้ภาครัฐให้น้อยลง เพื่อให้ประชาชนนำเงินที่เก็บไว้ออกมาใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
เมื่อรู้แล้วว่าสถานการณ์ไหนอยู่ในภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด การออมเงินควรอยู่ในรูปแบบไหนเพื่อให้ชนะเงินเฟ้อ ถือว่าเป็นการวางแผนระยะยาวที่จะทำให้วัยเกษียณของเรามีความมั่นคงมากยิ่งขึ้นนะคะ