การขายอสังหาริมทรัพย์ โอนกรรมสิทธิ์ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
เรื่องสำคัญมากที่ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องรู้ ก่อนตกลงซื้อขายบ้าน คอนโด ที่ดิน ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายนั้น มีค่าใช้จ่ายต่างๆ อะไรบ้าง ที่ต้องจ่ายในวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ กรมที่ดิน โดยสรุปค่าใช้จ่ายออกมาได้ ดังนี้
1. ค่าธรรมเนียมการโอน
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน คิดในอัตราร้อยละ 2 ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้างหรือราคาซื้อขาย แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า ก็จะใช้ราคานั้นในการคำนวน โดยราคาประเมิน คือ ราคาที่รัฐบาลกำหนดเป็นราคากลางของอสังหาริมทรัพย์แต่ละพื ้นที่ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดค่าธรรมเนียมและภาษีจากการซื้อข ายอสังหาริมทรัพย์ สามารถเช็คราคาประเมินได้จากเว็บไซต์กรมธนารักษ์ https://assessprice.treasury.go.th/
ค่าธรรมเนียมการโอนตามกฏหมายไม่ได้กำหนดว่าเป็นค่าใช้จ่าย ของผู้ซื้อหรือผู้ขาย ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ส่วนใหญ่จะแบ่งกันคนละครึ่ง ซึ่งทั้งผู้ซื้อและผู้ขายควรจะตกลงกันให้เรียบร้อยในวันทำ สัญญาซื้อจะขาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาและความเข้าใจผิดกันในวันที่ไ ปโอนกรรมสิทธิ์
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การขายอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นรายได้ จึงต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จำนวนเงินที่เสียขึ้นอยู่กับวิธีการที่ได้มากับจำนวนปีที่ ถือครอง ถ้าได้มาจากการซื้อและถือครองนาน ภาษีที่ต้องชำระจะมาก โดยคำนวนจากราคาประเมินของกรมที่ดินหรือราคาขาย แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า นำไปหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายตามระยะเวลาที่ถือครอง (ปี) และนำไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันได ตามตารางด้านล่างนี้
3. ค่าอากรแสตมป์
อัตราร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินกรมที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน คอนโด, ทาวน์เฮ้าส์ ถ้าเจ้าของเป็นชื่อบุคคลธรรมดาคนเดียว ไม่เป็นคณะบุคคล นิติบุคคล และเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ถือครองครบ 5 ปี (1,825 วัน) หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 ปี จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ละเสียค่าอากรแสตมป์ ในอัตรา 0.5% โดยทั่วไปผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาประเมินกรมที่ดิน ค่าใช้จ่ายนี้จะเสียในกรณีที่เจ้าของถือกรรมสิทธิ์ไม่ครบ 5 ปี หรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ต้องการขาย ค่าส่วนนี้โดยทั่วไปผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ
5. ค่าจดจำนอง
ภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3.3 ของราคาประเมินกรมที่ดิน ค่าใช้จ่ายนี้จะเสียในกรณีที่เจ้าของถือกรรมสิทธิ์ไม่ครบ 5 ปี หรือไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ต้องการขาย ค่าส่วนนี้โดยทั่วไปผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ: ค่าอากรแสตมป์ กับภาษีธุรกิจเฉพาะ นั้นจะเสียอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งต้องดูเงื่อนไขตามที่แจ้งไว้เบื้องต้น
หลังจากทราบประเภทค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ซึ่งค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทนั้น เมื่อคำนวณเป็นจำนวนเงินจะมียอดมากน้อยขึ้นอยู่กับทรัพย์ท ี่ทำการโอน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากันระหว่างผู้ซื้อและผ ู้ขาย จึงควรมีการตกลงค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าประเภทใดให้เรียบร้อยในวันทำสัญญ าซื้อขาย เพื่อให้การซื้อขายเป็นไปได้อย่างราบรื่น