ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

เกี่ยวกับ IP Address v4

เกี่ยวกับ IP Address v4

โพสต์ใน: เครือข่าย / - โดย - Feb 18, 2023

IP Address v4 โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วยจุด "." ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ

  1. Class A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. Class B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. Class C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. Class D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. Class E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน

 

 

สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ

แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)

โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่

  1. Private IP คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 Subnetmask ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. Private IP คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 Subnetmask ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. Private IP คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 Subnetmask ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป

ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือ ข่ายสาธารณะ (Internet)

ส่วน Public IP มีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน

จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ใน ระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่อง ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก

 

 

ความสำคัญของ IP ADDRESS
เนื่องจากหมายเลข IP Address (ไอพีแอดเดรส) มีความสำคัญในการเชื่อมต่อระบบ Network หรือเครือข่าย Internet ที่เราใช้กันทุกวันนี้ เพื่อให้ง่ายแก่การตรวจสอบเช็คหมายเลข Check IP Address ของเครื่อง สำหรับผู้ดูแลระบบในแต่ละองค์กร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย (Computer Network) หรือผู้ที่มีความสนใจอยากจะทราบ IP เช็คเลขIP "Check IP Address"ตรวจสอบวัดความเร็วอินเตอร์เน็ต(Speed Test ADSL) เช็ค หมายเลข ไอพี "Public IP Address" ปัจจุบันที่กำลังใช้งานอยู่ว่าเป็นหมายเลข ไอพีแอดเดรส คือ เลข IP Address อะไร ได้สะดวก ก็สามารถตรวจสอบเช็คเลข ไอพี

 

IPV4

IPv4 (ไอพีวี 4) คือ หมายเลข IP Address (ไอพี แอดเดรส) มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท หมายเลขไอพี เป็นรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆในระบบเครือข่าย

IPv4 จะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคจุด) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 255 ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมด เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ

 

IPV6
IPv6 ย่อมาจาก Internet Protocol Version 6 ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 (IPv4)
IP v6 ได้กำหนดกฎในการระบุตำแหน่งเป็น 3 ประเภทคือ unicast (host เดี่ยวไปยัง host เดี่ยวอื่น ๆ) anycast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัวที่ใกล้ที่สุด) multicast (host เดี่ยวไปยัง host หลายตัว) ส่วนเพิ่มที่พิเศษของ IPv6 คือ
– ตัวเลือกในการระบุส่วนขยายของส่วนหัว ได้รับการตรวจสอบเฉพาะจุดหมาย ดังนั้นความเร็วของระบบเครือข่ายสูงขึ้น
– ตำแหน่ง anycast ทำให้มีความเป็นไปได้ของการส่งข้อความไปยังหลาย ๆ gateway ที่ใกล้ที่สุดด้วยแนวคิดว่าให้บุคคลใด ๆ บริหารการส่งแพ็คเกตไปยังบุคคลอื่น anycast สามารถใช้ในการปรับปรุงตาราง routing ตลอดเส้นทาง
– แพ็คเกตได้รับการระบุให้มีการไหลชนิดพิเศษได้ ทำให้แพ็คเกตที่เป็นส่วนของมัลติมีเดียที่ต้องการ นำเสนอแบบ real time สามารถมีคุณภาพการให้บริการที่สูง
– ส่วนหัวของ IPv6 รวมถึงส่วนขยายยินยอมให้แพ็คเกตระบุกลไกแหล่งต้นทาง สำหรับการรวมข้อมูล และรักษาความลับ

จากการปรับเปลี่ยนเสร็จสมบูรณ์ เมื่อเครือข่ายต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เป็น IPv6 ทั้งหมด เราสามารถทำการสื่อสาร
โดยใช้โพรโตคอล IPv6 โดยตรง ซึ่งเราเรียกการสื่อสารลักษณะนี้ว่า native IPv6 network

ทำงานด้วย Windows

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: