ไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage) คืออะไร
1. แรงดันสูง (High Voltage = HV) 1 kV – 245 kV
2. แรงดันสูงพิเศษ (Extra High Voltage = EHV) 245 kV –765 kV
3. แรงดันสูงยิ่ง (Ultra High Voltage = UHV) 765 kV ขึ้นไป
ไฟฟ้าแรงดันสูงเกิดขึ้นได้อย่างไร?
1. เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
เกิดจากการสะสมประจุไฟฟ้าสถิตผลจากการเก็บประจุโดยไม่รั่ วไหลจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น ทำให้เกิดความเครียดสนามไฟฟ้า (Electric Field Stress , E) สูงถึงค่าวิกฤติจะเกิดการดีสชาร์จเป็น
- ดีสชาร์จไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Discharge , ESD)
- ดีสชาร์จฟ้าผ่า (Lightning Discharge)
2. มนุษย์สร้างขึ้น
มนุษย์สร้างแรงดันสูงโดยใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งขนาดแรงดันไม่เกิน 35 kV ส่วนแรงดันสูงกว่านั้นสร้างขึ้นได้โดยอาศัยอุปกรณ์เฉพาะ ขึ้นอยู่กับชนิดของแรงดัน
- การสร้างแรงดันสูงกระแสสลับ โดยใช้หม้อแปลงไฟฟ้า
- การสร้างแรงดันสูงกระแสตรง โดยใช้วงจรเร็กติฟายเออร์
- การสร้างแรงดันสูงไฟฟ้าสถิต โดยเครื่องกำเนิดแรงดันไฟฟ้าสถิต
- การสร้างแรงดันสูงอิมพัลส์ การอัดประจุให้กับตัวเก็บประจุ
ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าจนถึงผู้ใช้ไฟฟ้า
ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (Transmission System)
ทำไมต้องใช้แรงดันสูงเพื่อการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ?
การส่งกำลังไฟฟ้ามากๆ และเป็นระยะทางไกลๆ จะเกิดกำลังไฟฟ้าสูญเสีย (Power Loss)เนื่องจากความต้านทานสายส่ง (R) การลดกำลังไฟฟ้าสูญเสียทำได้โดยลดกระแสให้น้อยลงP_loss=I^2 R
ระบบส่งจ่ายในประเทศไทย ได้แก่ 500 kV, 230 kV, 115kV และ 69 kV
สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้อากาศเป็นฉนวน (Air Insulated Substation, AIS)
ข้อเสีย
สถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบใช้ก๊าซเป็นฉนวน (Gas Insulated Substation, GIS)
ข้อดี
ข้อเสีย
การใช้แรงดันสูงกระแสตรง
- ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้า
- ใช้ในทางฟิสิกส์และทางการแพทย์
- ใช้ในการทดสอบวัสดุฉนวนและอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง
ข้อเสียของการส่งพลังงานไฟฟ้าด้วย DC
การใช้งานแรงดันไฟฟ้าสูงในประเทศไทย
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
-500 kV, 230 kV, 115kV และ 69kV
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. การไฟฟ้านครหลวง
แรงดันสูงเพื่อการทดสอบ
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าวัสดุและอุปกรณ์ที่จะนำไปใช้ในระบบไฟ ฟ้ามีคุณสมบัติและคุณภาพดีตามต้องการ จึงต้องมีการทดสอบดังนี้
- การทดสอบแบบไม่ทำลาย (nondestructive test)
- การทดสอบแบบทำลาย (destructive test)
แรงดันสูงเพื่อการทดสอบ
การทดสอบแบบทำลาย
1. เป็นการทดสอบความคงทนอยู่ได้ระยะสั้นความถี่ต่ำเป็นเวลา 1 นาที ซึ่งจะสูงกว่า
แรงดันใช้งาน เป็นการเลียนแบบแรงดันเกินที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพ ลันในระบบ
2. เป็นการทดสอบความคงทนอยู่ได้ด้วยแรงดันอิมพัลส์เพื่อดูควา มคงทนต่อแรงดัน
อิมพัลส์แบบฟ้าผ่า (BIL) หรือ แรงดันอิมพัลส์แบบสวิตชิ่ง (BSL) สำหรับระบบ
ที่สูงกว่า 300 kV
การทดสอบแบบไม่ทำลาย
DC คือ แรงดันกระแสตรง
AC คือ แรงดันกระแสสลับ
1.2/50 คือ แรงดันอิมพัลส์ รูปคลื่นฟ้าผ่า
250/2500 คือ แรงดันอิมพัลส์ รูปคลื่นสวิตชิ่ง
ขนาดแรงดันทดสอบ
ช่วงที่ 1:1 kV <U_m< 52 kV
ช่วงที่ 2:52 kV ≤U_m
ช่วงที่ 3:U_m ≥300 kV
การเลือกระดับแรงดันทดสอบ
1. ถ้าระบบแรงดันใช้งานไม่ตรงกับ Um ที่ระบุในตาราง ให้
เลือกค่าที่สูงกว่า
2. ค่าแรงดันทดสอบของแต่ละระดับแรงดัน Um มีหลายค่า การ
เลือก
ㆍ กรณีระบบนิวตรัลไม่ต่อลงดินการฉนวนต้องทนแรงดันได้เต็มที่ (Full
Insulation) แรงดันทดสอบเลือกที่ระดับสูงสุด
ㆍ กรณีระบบนิวตรัลต่อลงดินค่าแรงดันทดสอบจะต่ำสุดเป็น (Reduced
Insulation) แรงดันทดสอบเลือกที่ระดับต่ำสุด
อันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง
ตารางแสดงผลต่อกระแสไฟฟ้าที่มีต่อร่างกายมนุษย์
ปริมาณกระแส (mA) |
อาการ |
ต่ำกว่า 0.5 |
ไม่มีผล |
0.5 - 2 |
รู้สึกจั๊กจี้ หรือกระตุกเล็กน้อย |
2 - 8 |
กระทบกระเทือนระบบประสาท กล้ามเนื้อหดตัว เกิดอาการกระตุก ปานกลางหรือรุนแรงไม่ถึงขั้นอันตราย |
8 - 20 |
กระทบกระเทือนต่อระบบประสาท เจ็บปวดกล้ามเนื้อเกร็งหดตัวอย่างรุนแรง บางคนไม่สามารถปล่อยมือหลุดออกได้ |
20 - 50 |
กระทบกระเทือนต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้ปอดทำงานผิดปกติ ไม่สามารถปล่อยมือออกได้ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง มีโอกาสเสียชีวิตในเวลา เพียง 2 - 3 นาที |
50 - 100 |
กระทบกระเทือนต่อระบบประสาท หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นอ่อน หรือเต้นถี่รัว มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมอง ไม่สามารถปล่อยมือ หลุดออกได้ มีโอกาสเสียชีวิตในเวลา 2 - 3 นาที |
สูงกว่า 100 |
หัวใจหยุดเต้น ผิวหนังไหม้ หรือเนื้อเยื่อไหม้อย่างรุนแรง กล้ามเนื้อไม่ทำงาน |
การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูงที่มนุษย์สร้างขึ้น