ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

3 อัตราดอกเบี้ย คนจะกู้ซื้อบ้านต้องรู้

3 อัตราดอกเบี้ย คนจะกู้ซื้อบ้านต้องรู้

โพสต์ใน: บ้าน ที่อยู่อาศัย / - โดย - Oct 29, 2016
‘MLR’ ‘MOR’ และ ‘MRR’ รู้จัก 3 อัตราดอกเบี้ยสำหรับการกู้ซื้อบ้าน

สำหรับใครที่กำลังศึกษากำลังจะซื้อหรือเคยกู้ซื้อบ้านกับธ นาคารมาบ้างแล้ว ต้องรู้จักอัตราดอกเบี้ยแบบ MLR MOR MRR หรือเห็นผ่านตากันมาแน่นอนเพราะว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอ ิงที่ธนาคารเค้าใช้คิดดอกเบี้ยเงินกู้กับเรา โดยปกติแล้วดอกเบี้ยเงินกู้ที่ทางธนาคารคิดกับเราจะแบ่งออ กเป็น 2 ส่วนหลักๆ ก็คือ

1. อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate)
เป็นอัตราดอกเบี้ยที่คิดแบบคงนี้ไม่มีการปรับขึ้นลง ปัจจุบันตอนนี้ธนาคารมักจะใช้สำหรับโปรโมชั่นช่วง 0 – 3 ปีแรกเช่น อัตราดอกเบี้ย 0.99% 6 เดือนแรก หรือ 2% ในปีแรก 4% ในปีที่ 2 – 3 เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นกับโปรโมชั่นแต่ละธนาคาร

2. อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว(Float Rate)
อัตราดอกเบี้ยชนิดนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของธนาคารให ้ช่วงนั้นๆ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่มักจะเห็นก็คือ MLR MOR และMRR
  1. MLR หรือ Minimum Loan Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้าชั้นดี มีหลักประกัน ถึงแม้จากคำนิยามจะเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่ชั้นดีที่หมายถึงล ูกค้าประเภทบริษัทหรือลูกค้ารายใหญ่ก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแล้วธนาคารแทบจะเสนออัตราดอกเบี้ยชนิดนี้ใ ห้กับลูกค้าได้ทุกกลุ่มเหมือนกันไม่ได้กำจัดอยู่ที่รายใหญ ่ซะทีเดียว โดยการขอสินเชื่อที่เป็นระยะยาวและมีระยะเวลากำหนดที่แน่น อน
  2. MOR หรือ Minimum Overdraft Rate ส่วนอัตราดอกเบี้ยชนิดนี้จะใช้สำหรับเงินเบิกเกินบัญชีของ ลูกค้าที่ทำธุรกิจซะเป็นส่วนใหญ่
  3. MRR หรือ Minimum Retail Rate เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดีเช่น สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ธนาคาร  MOR   MLR   MRR 
กรุงเทพ    7.375    7.000      8.000
กรุงไทย    7.375    7.000      8.000
กสิกรไทย    7.480    7.000      8.100
ไทยพาณิชย์    7.425    7.000      8.100
กรุงศรีอยุธยา    7.750    7.375      8.450
ทหารไทย    7.900    7.375      8.275
ยูโอบี    8.125    7.625      8.500
ซีไอเอ็มบี ไทย    8.000    7.625      8.350
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)    8.500    8.250    12.750
ธนชาต    7.775    7.375      8.350
ทิสโก้    7.875    7.375      8.375
เมกะ สากลพาณิชย์    8.750    8.000      8.750
เกียรตินาคิน    7.925    7.500      8.600
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์    7.875    7.375      8.125
ไอซีบีซี (ไทย)    7.875    7.625      8.125
ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย    9.050    8.720      9.100


พอเห็นความหมายของแต่ละตัวไปแล้วนั้นหมายความว่าถ้าเราไปข อสินเชื่อธนาคารเพื่อนำเงินมาซื้อบ้านแล้วเราก็มีโอกาสที่ จะถูกเสนอทั้ง MLR และ MRR
โดยอัตราดอกเบี้ยทั้ง 3 ตัวนี้ทางธนาคารแห่งประไทยหรือชื่อที่เราคุ้นก็คือ BOT จะกำหนดให้แต่ละธนาคารประกาศอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภทไว้อ ย่างชัดเจนทั้งที่สำนักงานใหญ่ สาขาและเว็บไซต์ของธนาคาร ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีอัตรา MLR MOR MRR ไม่เท่ากันเพราะต้นทุนของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน


จากประสบการณ์บางธนาคารอัตรา MRR MLR ของบางธนาคารก็มีให้เห็นอยู่เหมือน เราก็สามารถตรวจดูได้ตามเว็บไซต์ของธนาคารเลยว่าที่ไหนมีอ ัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด แล้วเวลาที่เราไปขอสินเชื่อจริงๆ บางธนาคาร เราอาจจะได้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MLR + 1% มาแล้วอีกธนาคารให้ MRR – 3% ก็เป็นไปได้เช่นกัน พอสุทธิแล้วธนาคารที่เสนอ MRR ให้กับเราอาจจะดีกว่าก็เป็นไปได้เช่นกันถือว่าไม่ใช่เรื่อ งแปลกแต่อย่างใด

ดังนั้นแค่การเปิดดูอัตราดอกเบี้ย MLR MOR MRR จะยังไม่พอ เราต้องเข้าไปตามเจ้าหน้าที่ธนาคารเลยว่าตอนนี้ถ้าจะขอสิน เชื่อเพื่อซื้อบ้านเนี่ย ตอนนี้มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง แล้วอัตราดอกเบี้ยคิดเท่าไหร่อย่างไร ดังนั้นก่อนการกู้ซื้อบ้านทุกครั้งเราควรตรวจให้ครบทุกธนา คารเพื่อหาอัตราดอกเบี้ยที่ดีที่สุดสำหรับตัวเรา

แล้วรู้กันหรือไม่ว่าความเสี่ยงการขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้า นนั้นมี “ความเสี่ยง” อยู่เหมือนกัน ความเสี่ยงเกิดจากที่ว่าเราไม่สามารถคาดการณ์อัตราดอกเบี้ ย MLR MOR MRR ได้อย่างชัดเจน แล้ววินเชื่อเพื่อซื้อบ้านเป็นสินเชื่อระยะยาว 20-30 ปี ถ้าเราลองมองย้อนไปใส่อดีตในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้านจะมากกว่า 20%++ ผ่านมา 20 ปี ปัจจุบันเหลืออยู่ 5-7% เท่านั้น ถึงแม้ว่าทุกคนจะพูดเหมือนกันว่าอัตราดอกเบี้ยไม่มีทางกลั บไปสูงที่จุดเดิม แต่ส่วนตัวเชื่อว่าในอนาคตจะมีการปรับตัวอย่างรุนแรงของอั ตราดอกเบี้ยแน่นอน อัตราดอกเบี้ยไม่สามารถรักษาในระดับต่ำแบบนี้ได้ไปตลอด ดังนั้นการวางแผนเพื่อการรับมือกับอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตั วเพิ่มสูงขึ้น ก็เป็นปัจจัยที่ควรนำเข้ามาคิดก่อนขอสินเชื่อด้วย

ข้อควรระวังสุดท้ายก็คือการขอสินเชื่อหลายๆ ครั้ง เจ้าหน้าที่ธนาคารจะบังคับให้เราทำ “ประกันชีวิต” เพื่อคุ้มครองหนี้ด้วยโดยจะใส่เข้ามาไว้เป็นหน้าหนึงของเอ กสารให้เราเซ็นต์ ลองนึกถึงเวลาที่เราเซ็นต์ขอสินเชื่อเอกสารที่จะต้องเซ็นต ์จะเยอะมาก โดยธรรมชาติคนเรามักจะเซ็นต์โดยที่ไม่อ่าน ซึ่งเจ้าหน้าที่มักจะแจ้งว่าต้องทำ ไม่เช่นนั้นกู้ไม่ได้ ต้องบอกเลยว่า “ไม่เป็นความจริง” แต่อย่างใดเราสามารถปฏิเสธข้อเสนอประกันชีวิตได้
บ้านน่าอยู่

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: