ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

ข้อมูลเบื้องต้น
- บ่อขนาด 2×4 เมตร ลึก 70 ซ.ม
- ชนิดผ้ายาง LDPE หนา 300 ไมครอน ขนาด 4×7 เมตร ราคา 1250 รวมส่ง หาใน Google พิมพ์ KSB พลาสติก
- ใช้น้ำประปา พักน้ำ 1 อาทิตย์ ปรับสภาพน้ำด้วย EM และกากน้ำตาล
- งบประมาณในการทำทั้งหมดรวมพันธ์ปลาดุก 500 ตัว และอาหาร 20 กิโล ประมาณ 2,800 บาท ครับ

สำหรับการทำอาหารปลาดุกมีส่วนผสมดังนี้
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร



วิธีทำ
1. นำส่วนผสมข้อ 1 จำนวน 1 กระสอบ และส่วนผสมในข้อ 2,3,4 มาทำการคลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสมในข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสมในข้อ 1 ทำการหมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบที่เหลือ และน้ำมันพืช 1-2 ลิตร คลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

เทคนิคการทำอาหารเสริมสำหรับปลาดุกเพื่อลดต้นทุน
ส่วนผสม
1. รำ 6 กิโลกรัม
2. เปลือกถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม
3. เศษผัก 3 กิโลกรัม
4. ปลาป่น หรือเศษเนื้อสัตว์ป่น 1 กิโลกรัม

วิธีการทำ
นำรำ เปลือกถั่วเหลือง และเศษผักในอัตราส่วนที่กำหนด มาต้มรวมกัน ต้มไว้ประมาณ 20 นาที ก็สามารถนำไปเทให้ปลากินได้ โดยให้กินวันละ 1 ครั้ง
วัตถุดิบหาไม่ยาก นอกจากประหยัดค่าอาหารปลาแล้ว ปลายังโตเร็วอีกด้วย

สูตรนี้เป็น สูตรอาหารปลา ที่ไว้ใช้เลี้ยงลูกปลา เพื่อให้ลูกปลาโตไวและมีสุขภาพที่แข็งแรง วัตถุที่ต้องเตรียมมีดังนี้
  • ปลายข้าวที่ต้มสุกแล้ว 5 กิโลกรัม
  • รำข้าวละเอียด 5 กิโลกรัม
  • เศษผักสับระเอียดหรือจะบดให้ระเอียดก็ได้อีก 5 กิโลกรัม
  • จุนลินทรีย์ อีเอ็ม(EM) ประมาณ 3 ช้อนโต๊ะ
  • กากน้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า 5 ลิตร

หลังจากเตรียมวัตถุดิบเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็นำส่วนของปลา ยข้าวต้มสุก รำข้าวละเอียดและเศษผักที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้ากันในภาชนะ ที่เตรียมไว้ ภาชนะนี้ต้องมีฝาปิดด้วยเพื่อจะทำการหมักอาหารหลังผสมอาหา รเสร็จ เมื่อนำวัตถุดิบทั้ง 3 อย่างนี้มาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วก็เติม อีเอ็ม(EM) กากน้ำตาล และน้ำเปล่า เข้าไปคนให้เข้ากับอีกรอบและปิดฝา

ทำการหมักไว้ประมาณครึ่งวัน แต่ถ้าต้องการใช้เร็วก็ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงก็ได้เช่นกัน ตอนนำไปใช้เลี้ยงปลาเล็กเราควรดูเรื่องของปริมาณการใช้งาน ด้วย ต้องคอยสังเกตว่าอาหารที่ให้ไปปลากินหมดหรือเปล่า ถ้าปลากินหมดครั้งต่อไปก็ให้เพิ่มแต่ถ้ากินไม่หมดเราควรลด ปริมาณอาหารลงมา เพื่อป้องกันน้ำเน่าเสียนั้นเอง
วิดิโอตัวอย่าง:
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above