ช่วงชีวิตที่บวชพระ วรวุฒิ บุญวงค์ษา (วิสารโท)
มีคำกล่าวว่าชายไทยต้องทำ 2 อย่าง 1. เลือกทหารรับใช้ประเทศชาติ 2. บวชพระเพื่อแทนคุณบิดา มารดา ฯ แล้วค่อยรับใช้ภรรยาในชีวิตที่เหลือ 555
เมื่อ 30 มีนาคม 2014 เวลา 17:01 น.
ผมเขียนสรุปสั้นไว้ที่นี้ เพื่อคนรุ่นหลังได้ศึกษา หรือท่านผู้อ่านผ่านมาเจอจักได้เห็นเป็นกิจวัตร
20-27
มีนาคม 2557 ที่ผ่านมานี้ผมได้บวชพระ
ก็เริ่มจากมีขั้นตอนจัดงานกองบุญรวมญาติพี่น้อง ถัดไปทำขวัญนาค ถัดไปแห่นาค
ถัดไปเข้าวัดทำพิธีอุปสมบทกับพระอุปัชฌาย์ ถัดไปพิธีบายศรีพระ
จากนั้นก็จำที่วัดศรีสว่าง 21-23 มี.ค. และวัดสระทอง 24-26 มี.ค.
กิจวัตรในแต่ละวันของผมตอนบวชเป็นพระสงฆ์
ตื่นตี 4 อาบน้ำล้างหน้าแปลงฟันและมาทำวัดเช้า
จากนั้น 5.30 น. มากวาดใบไม้ตามลานวัดแต่เช้า ทางคอนกรีต โบสถ์
จากนั้น 6.30 น. ออกบิณฑบาต
พอถึงประมาณ 7.00 น. ฉันอาหารเช้า
จากนั้น 8.00 น. ท่องบทสวดมนต์พิธีต่างๆ และพักผ่อนตามอัธยาศัย
จากนั้น 11.00 น. ฉันอาหารเพล ท่องบทสวดมนต์พิธีต่างๆ และพักผ่อนตามอัธยาศัย
จากนั้น 15.00 น. กวาดใบไม้กวาดใบไม้ตามลานวัด และพื้นที่อื่นรอบวัด
จากนั้น 19.00 น. ทำวัดเย็น
4 บทสวดที่ผมตั้งใจท่องให้ได้แล้วหลักๆ จะเป็นการ ให้ศีล ให้พรญาติโยม เพราะพระอยู่ได้ก็เพราะญาติโยม หรือที่เรียกว่าพ่อออก-แม่ออก (ดูอ้างอิง 4 บทสวดข้างท้าย)
- ท่องบทแรก บทกวาดน้ำ (ยะถา วาริวะหา&hellip สำหรับให้ญาติโยมได้กวาดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติมิตรท ี่มรณภาพแล้ว (บทสวดนี้จะให้พระอาวุโสกว่าเป็นคนสวดเพียงคนเดียว)
- ท่องบทที่สอง บทให้พรญาติโยม (สัพพีติโย วิวัชชันตุ&hellip สำหรับให้พรญาติโยมหลังรับบิณฑบาตตอนเช้า
- ท่องบทที่สาม บทระลึกถึงพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ (ภะวะตุสัพพะมังคะ&hellip สำหรับน้อมเอาพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ และสังฆานุภาพให้เกิดสัพพมงคลต่างๆ
- ท่องบทที่สี่ บทบทพิจารณาก่อนฉันบิณฑบาต (ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง&hellip สำหรับก่อนฉันอาหาร ให้ระลึกเสมอว่าไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน
สุดท้ายฝากขอบคุณพี่น้อง เพื่อนสนิท มิตรสหาย ทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วย
อ้างอิง: 4 บทสวดที่ตอนบวชเป็นพระ ผมตั้งใจท่องให้ได้แล้ว มีดังนี้
1. บทสวดกรวดน้ำ ยะถา วาริวะหา ปูรา ปริปูเรนติ สาคะรัง
เอวะเมวะ อิโต ทินนัง เปตานัง อุปะกัปปะติ
อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ
สัพเพ ปูเรนตุ สังกัปปา จันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิโชติระโส ยะถา
คำแปล
ห้วง
น้ำที่เต็มไปด้วยน้ำย่อมไหลไปสู่ทะเลมหาสมุทรให้เต็มฉันใด
ทานที่ท่านให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วฉันนั้น
ขอสิ่งที่ท่านมุ่งมาด ปรารถนาที่ตั้งไว้ จงสำเร็จโดยพลันทันที
ความคิดทั้งปวงของท่าน จงเต็มบริบูรณ์เหมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ 15 ค่ำ
เหมือนดังแก้วมณีโชติ อันให้สำเร็จ ประโยชน์ทั้งปวงฉันนั้น
2. บทให้พรญาติโยม
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินาสะตุ
มาเต ภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ
อภิวาทะนะสีลิสสะนิจจัง วุฒฑาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัชชันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
คำแปล ขอ
เสนียดจัญไรทั้งหลายจงผ่านพ้นท่านไป ขอโรคทั้งปวงของท่านจงมลายหายไป
ขออันตรายอย่างได้เกิดกับท่าน ขอท่านจงมีความสุข อายุยืนนาน พรทั้ง 4
ประการ ให้มีอายุ วรณะ สุขะ พะละ
ย่อมยังความเจริญมาให้แก่ผู้เคารพกราบไหว้ผู้ใหญ่ผู้ทรงภู มิปัญญาเป็นนิจ
3. บทระลึกถึงพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ น้อมเอาพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ และสังฆานุภาพให้เกิดสัพพมงคลต่างๆ
ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะสะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุสัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
คำแปล
ขอ
มงคลทั้งปวงจงมี ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงคุ้มครองรักษา
ด้วยพุทธานุภาพทั้งปวง ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีตลอดกาล ทุกเมื่อ
เทอญ ฯ
ขอมงคลทั้งปวงจงมี ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงคุ้มครองรักษา
ด้วยธรรมานุภาพทั้งปวง ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีตลอดกาล ทุกเมื่อ
เทอญ ฯ
ขอมงคลทั้งปวงจงมี ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงคุ้มครองรักษา
ด้วยสังฆานุภาพทั้งปวง ขอท่านจงประสบแต่ความสุขสวัสดีตลอดกาล ทุกเมื่อ
เทอญ ฯ
4. บทพิจารณาก่อนฉันอาหาร ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาตัง ปะฏิเสวามิ, เนวะ ท์วายะ
นะ มะทายะ นะ มัณฑะนายะ นะ วิภูสะนายะ, ยาวะเทวะ อิมัสสะ
กายัสสะ ฐิติยา ยาปะนายะ วิหิงสุปะระติยา พรัหมะจะริยานุคคะหายะ,
อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ นะวัญจะ เวทะนัง นะ
อุปปาเทสสามิ, ยาต์รา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ
ผาสุวิหาโร จาติ ฯ
คำแปล เรา
ย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต
ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน
เกิดกำลังพลังทางกาย ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยการทำอย่างนี้,
เราย่อมระงับเสียได้ ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือ ความหิว
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น, อนึ่ง,
ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.