ซุนวู ที่นับว่าเป็นตำรายุทธศาสตร์ทางทหารที่มีอิทธิพลมาก และปัจจุบันยุทธศาสตร์ในตำรามีผู้ประยุกต์ใช้อย่างกว้างขว างในวงการธุรกิจและการเมือง
"รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง" คนส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินวลีนี้และว่าเป็นคำสอนของซุนวู แต่แท้จริงเป็นการรวมคำพูด 2 ประโยคที่ซุนวูพูดไว้ คือ "การชนะร้อยทั้งร้อยมิใช่วิธีการอันประเสริฐแท้ แต่ชนะโดยไม่ต้องรบเลย จึงถือว่าเป็นวิธีอันวิเศษยิ่ง" กับ "หากรู้เขารู้เรา แม้นรบกันตั้งร้อยครั้งก็ไม่มีอันตรายอันใด ถ้าไม่รู้เขาแต่รู้เพียงตัวเรา แพ้ชนะย่อมก้ำกึ่งอยู่ หากไม่รู้ในตัวเขาตัวเราเสียเลย ก็ต้องปราชัยทุกครั้งที่มีการยุทธนั้นแล" ฉะนั้น รูปแบบการรบขั้นสูงสุดคือการใช้อุบายทำลายข้าศึก รองลงมาคือสลายกำลังของศัตรูด้วยการทูต รองลงมาอีกคือการเข้าประจันในสนามรบ อย่างเลวที่สุดคือการเข้าหักกำแพงเมือง
ดังนั้น หลักการกุมชัยจึงมีอยู่ห้าประการ คือ
- รู้ว่าเมื่อใดควรรบ เมื่อใดควรพัก
- รู้จักการบัญชาการและเลือกใช้ทัพเล็กและทัพใหญ่ให้เหมาะสม
- ชนะใจคนทั้งกองทัพตั้งแต่พลทหารไปจนถึงนายพล
- เตรียมพร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสจากข้าศึกตลอดเวลา
- รู้จักใช้ผู้มีความสามารถ และปราศจากการแทรกแซงจากประมุข
ผู้ที่รู้ซึ้งถึงหลักห้าประการนี้จักกุมชัยชนะเอาไว้ได้
ดังนั้น รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย รู้เราไม่รู้เขา ชนะหนึ่งพ่ายหนึ่ง ไม่รู้เขาไม่รู้เรา ทุกศึกพ่ายสิ้นแล
36 กลยุทธ์ ของซุนวู “พื้นฐานต้องดี ไม่งั้นฝึกร้อยปี อยู่กับที่”
กลยุทธ์ชนะศึก
“ยามเมื่อเราเป็นฝ่ายเหนือกว่า ก่อนอื่นจะต้องสยบข้าศึกลงไป ใช้การรุกรบอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ทำสงครามด้วยรูปการที่เป็นผลดีที่สุด’
- .....กลยุทธ์ที่ 1 ปิดฟ้าข้ามทะเล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า สิ่งที่ตนคิดว่าได้ตระเตรียมไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว ก็มักจะมึนชาและประมาทศัตรูได้ง่าย สิ่งที่พบเห็นอยู่เสมอในยามปรกติก็ไม่เกิดความสงสัยอีกต่อ ไป - .....กลยุทธ์ที่ 2 ล้อมเว่ยช่วยเจ้า
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกรวมศูนย์กำลังพลไว้ ควรจะใช้กลอุบายดึงแยกข้าศึกออกไป ทำให้กำลังพลกระจัดกระจาย ห่วงหน้าพะวงหลัง ครั้นแล้วจึงเข้าโจมตี นี้ก็คือ “ศัตรูรวมมิสู้ศัตรูแยก” และตำราพิชัยสงครามในสมัยโบราณ ขนานนามยุทธศาสตร์การส่งทหารเข้าบุกข้าศึกก่อนเป็น “ศัตรูแจ้ง” ส่วนยุทธศาสตร์กำราบข้าศึกทีหลังเป็น “ศัตรูมืด” - .....กลยุทธ์ที่ 3 ยืมดาบฆ่าคน
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า เมื่อศัตรูปรากฏแน่ชัด แต่มิตรยังลังเล สิ่งที่พึงกระทำก็คือล่อให้พันธมิตรออกไปปะทะศัตรู นี้เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งใช้ความขัดแย้ง ยืมกำลังของคนอื่นไปทำลายศัตรู เพื่อรักษากำลังตนเองไว้ แต่การยืมเช่นนี้จะต้องให้แนบเนียน มิฉะนั้นแล้วก็ไม่อาจทำลายศัตรูได้ กลับอาจถูกศัตรูย้อนรอย - .....กลยุทธ์ที่ 4 รอซ้ำยามเปลี้ย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสงค์จักทำให้ข้าศึกตกอยู่ในภาวะลำบาก ไม่แน่ว่าจะต้องใช้วิธีรบแต่ฝ่ายเดียว อาจจะใช้วิธี "แกร่งเสียอ่อนได้” ตามที่กล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง สูญเสีย เมื่อให้ได้รับชัยชนะก็ได้” - .....กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบ ด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า “ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน” - .....กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า การโจมตีศัตรู จะต้องเตรียมการและบุกโจมตีในจุดที่ศัตรูต่างคาดไม่ถึงเพื ่อเป็นการป้องกันไม่ให้ศัตรูวางแนวการตั้งรับได้ถูก โดยหลอกล่อศัตรูให้เกิดการหลงทิศกับการบุกโจมตีและนำกำลัง ทหารไปเฝ้าระวังผิดตำแหน่ง เกิดการหละหลวมต่อกำลังทหารและเปิดโอกาสให้สามารถเอาชนะได ้โดยง่าย
กลยุทธ์เผชิญศึก
“ยามเมื่อเผชิญศึก เท็จลวงกับจริงแท้ พึงใช้สอดแทรกซึ่งกันและกันอย่างสลับซับซ้อน ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ”
- .....กลยุทธ์ที่ 7 มีในไม่มี
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ให้ใช้ภาพลวงล่อหลอกข้าศึก แต่มิใช้จะล่อลวงจนถึงที่สุด หากแต่เพื่อแปรเปลี่ยนจากลวงเป็นจริง ทำให้ข้าศึกเกิดความหลงผิด ที่ว่า “ลวง” ก็คือ “หลอกลวง” ที่ว่า “มืด” ก็คือ “เท็จ” จากมืดน้อยไปถึงมืดมาก จากมืดมากแปรเปลี่ยนเป็นสว่างแจ้ง ก็คือใช้ภาพลวงปกปิดภาพจริง ผันจากเท็จลวงให้กลายเป็นแท้จริงแท้ นี้เป็นเรื่องในการศึกเท็จลวงและแท้จริงแท้สลับกันเป็นฟัน ปลา ในจริงมีเท็จ ในเท็จมีจริง - .....กลยุทธ์ที่ 8 ลอบตีเฉินชัง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ในการศึก ใช้โอกาสที่ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจจะรักษาพื้นที่ แสร้งทำเป็นจะโจมตีด้านหน้า แต่เข้าจู่โจมในพื้นที่ที่ข้าศึกไม่สนใจอย่างมิได้คาดคิด ใน “คัมภีร์อี้จิง ประโยชน์” เรียกว่า “เข้าจู่โจมดุจพายุ” ซึ่งก็คือกลวิธีวกวนลอบเข้าจู่โจมอย่างเป็นฝ่ายกระทำ เข้าตีข้าศึกโดยมิได้ระวังตัว เอาชนะอย่างมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง - .....กลยุทธ์ที่ 9 ดูไฟชายฝั่ง
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อประสบกับภาวะที่ข้าศึกแตกแยกวุ่นวายปั่นป่วนอย่างหนั ก พึงรอให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสงบ หากข้าศึกใช้ความป่าเถื่อนแก่กัน ต่างพิพากเข่นฆ่ากัน แนวโน้มก็จักพาไปสู่ความวินาศเอง ในเวลาเยี่ยงนี้จำต้องปฏิบัติให้คล้อยตามการเปลี่ยนแปลงขอ งสภาพข้าศึก ตระเตรียมไว้ก่อนล่งหน้า เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ชิงมาซึ่งชัยชนะโดย ใช้การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของทางฝ่ายข้าศึกให้เป็นประ โยชน์ - .....กลยุทธ์ที่ 10 ซ่อนดาบบนรอยยิ้ม
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องทำให้ข้าศึกเชื่อว่าเรามิได้เคลื่อนไหวอะไรเลย จึงสงบไม่เคลื่อนเช่นกัน ทั้งเกิดความคิดมึนชาขึ้น แต่เรากลับดำเนินการตระเตรียมเป็นการลับ รอคอยโอกาส เพื่อที่จะออกปฏิบัติการ โดยฉับพลันทันที แต่ต้องระวังมิให้ข้าศึกล่วงรู้ก่อน อันจะทำให้สภาพการณ์เกิดเปลี่ยนแปลงไป - .....กลยุทธ์ที่ 11 หลี่ตายแทนถาว
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อการพัฒนาของสถานการณ์มิเป็นผลดีแก่ตน จักต้องเกิดความเสียหายอย่างหลียกเลี่ยงไม่พัน เพื่อที่จะแปรความเสียเปรียบเป็นความได้เปรียบ ก็จะต้องยอมเสีย “มืด” เพื่อประโยชน์แก่ “สว่าง” ซึ่งก็หมายความว่าจำต้องเสียสละส่วนหนึ่ง เสียค่าตอบแทนน้อย เพื่อแลกกับชัยชนะทั่วทุกด้าน - .....กลยุทธ์ที่ 12 จูงแพะติดมือ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า แม้จะเป็นความเลินเล่อของข้าศึกเพียงเล็กน้อย เราก็พึงฉกฉวยเอาประโยชน์ แม้จะเป็นชัยชนะเพียงเล็กน้อย ก็จะต้องชิงเอามาให้ได้
กลยุทธ์เพื่อการเข้าตี
“เมื่อสองฝ่ายเริ่มรบด้วยกลศึก พึงใช้ทุกมาตรการถือเพทุบายเป็นวิถี เอาชนะด้วยเล่ห์กล”
- .....กลยุทธ์ที่ 13 ตีหญ้าให้งูตื่น(ปัจจุบันกลายเป็นแหวกหญ้าให้งูตื่น)
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อมีสิ่งใดพึงสงสัย ควรจังส่งคนสอดแนมให้รู้ชัด กุมสภาพข้าศึกได้แล้ว จึงเคลื่อน นี้เรียกว่า “สงสัยพึงแจ้ง สังเกตจึงเคลื่อน”
.....ใน “คัมภีร์อี้จิง ซ้ำ” ได้อธิบายไว้ว่า “ใช้มรรควิธีเดิมกลับไปมา 7 วัน เมื่อละเอียดแล้ว จึงเข้าใจสิ่งนั้นได้” ความหมายของคำนี้ก็คือ ต่อสิ่งใดก็ตามจังต้องสังเกตซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงจะสามารถจำแนกแยกแยะมันได้ถูก - .....กลยุทธ์ที่ 14 ยืมซากคืนชีพ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ผู้ที่มีความสามารถและมีบทบาทนั้น จะใช้อย่างผลีผลามมิได้ ส่วนผู้ที่ไร้ความสามารถ ก็มักจะมาของความช่วยเหลือจากเรา การใช้ผู้ที่ไร้ความสามารถ มิใช้เพราะว่าเราต้องการจะใช้เขา หากแต่เพราะเขาต้องการพึ่งเรา คำว่า “เด็กไร้เดียงสา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ไร้เดียงสา” - .....กลยุทธ์ที่ 15 ล่อเสือออกจากถ้ำ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลอันเป็นเงือนไขตามธรรม ชาติ เช่น หนาว ร้อน ฝน แจ้ง เป็นต้น ให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ เพื่อสร้างและเพิ่มความยากลำบากให้กับข้าศึก ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ภาพลวงที่เราจงใจสร้างขึ้น ล่อให้ข้าศึกออกจากแนวป้องกัน หลังจากนั้นก็โจมตีหรือทำลายเสีย - .....กลยุทธ์ที่ 16 แสร้งปล่อยเพื่อจับ
กลยุทธ์นี้หมายความว่า ถ้าบีบคั้นจนเกินไปนัก สุนัขก็จักสู้อย่างจนตรอก ปล่ายข้าศึกหนี ก็จักทำลายความเหิมเกริมของข้าศึกได้ ทว่าต้องไล่ตามอย่าละ เพื่อบั่นทอนกำลังของข้าศึกให้กระปลกกะเปลี้ย ครั้นเมื่อสิ้นเรี่ยวแรงใจก็มิคิดต่อสู้ด้วยแล้ว จึงจับ อันเป็นการรบที่ไม่เสียเลือดเนื้อ อีกทั้งทำให้ข้าศึกแตกสลายไปเอง - .....กลยุทธ์ที่ 17 โยนกระเบื้องล่อหยก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้สิ่งที่คล้ายคลึงกันไปล่อข้าศึก ให้ข้าศึกต้องอุบายพ่ายแพ้ไป
การใช้กลยุทธ์นี้ กำหนดขึ้นตามสภาพรูปธรรมของข้าศึก ในตำราพิชัยสงครามชื่อ "ร้อยยุทธการพิสดาร การรบที่ได้ประโยชน์” กล่าวไว้ว่า “เมื่อประมือกับข้าศึก ขุนพลฝ่ายตราข้ามโง่เง่ามิรู้พลิกแพลง จักล่อด้วยประโยชน์ เขาละโมบในประโยชน์ มิรู้ผลร้าย ก็ซุ่มทหารลอบตีได้ ข้าศึกจักพ่ายนี้คือ “ล่อด้วยประโยชน์” - .....กลยุทธ์ที่ 18 จับโจรเอาหัวโจก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จักต้องตีข้าศึกในจุดที่เป็นหัวโจของกองทัพ เพื่อสลายพลังของข้าศึก “มังกรสู้บนปฐพี ก็อับจนหมดหนทาง” เปรียบประดุจมังกรในทะเล ขึ้นมาสู้กับศัตรูบนพื้นแผ่นดิน ก็จักปราชัยแก่ข้าศึกโดยง่าย คำนี้เดิมพบใน “คัมภีร์อี้จิง ดิน” ซึ่งแฝงความนัยว่า “จับโจรให้เอาตัวหัวโจก” อันเป็นกลอุบายใช้วิธี “ตีงูให้ตีหัว” เพื่อสยบข้าศึกอย่างหนึ่ง
กลยุทธ์ติดพัน
“เมื่อเกิดศึกชุลมุน พึงตีหัวใจเป็นสำคัญ ลวงข้าศึกให้หย่อนการป้องกัน สยบข้าศึกด้วยอ่อนพิชิตแข็ง”
- .....กลยุทธ์ที่ 19 ถอนฟืนใต้กระทะ
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อเปรียบเทียบกำลังกันแล้ว มิเหนือกว่าข้าศึก พิงหาทางบันทอนความฮึกเหิมลงเสีย
“ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ” ตามคำอธิบายของ “คัมภีร์ 64 ทิศ ปฏิบัติ” “น้ำ” หมายถึงความแกร่ง “ฟ้า” หมายถึงความอ่อน รวมแล้วหมายความว่า เอาอ่อนชนะแข็ง ซึ่งก็คือพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยโอกาสทำลายกำลังส่วนหนึ่งของข้าศึกไปเสีย ให้พ่ายไปสิ้นในภายหลัง - .....กลยุทธ์ที่ 20 กวนน้ำจับปลา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกเกิดความปั่นป่วนในกองทัพของตน เราจักต้องฉวยโอกาสความวุ่นวาย มิรู้ที่จะทำประการใดของข้าศึกนี้ แย่งยึดเอาผลประโยชน์มา หรืออีกนัยหนึ่ง “เอาชัยจากคงวามปั่นป่วน” ดุจดังพายุฝนกระหน่ำยามค่ำคืน ที่ต่ำก็จักขังน้ำ ผู้คนจักเข้าสู่นิทรารมณ์ อันเป็นปกติวิสัยของธรรมชาติมนุษย - .....กลยุทธ์ที่ 21 จักจั่นลอกคราบ
กลยุทธ์นี้มีความหวายว่า รักษาไว้ซึ่งแนวรบเยี่ยงเดิม ให้ดูน่าเกรงขามเหมือนเก่า ฝ่ายมิตรก็มิสงสัย ฝ่ายข้าศึกมิกล้าผลีผลาม ครั้นแล้ว จึงถอนตัวอย่างปกปิด เคลื่อนกำลังหลักให้หลบเลี่ยงไป
“เลี่ยงเพื่อสลาย ลวง” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ลวง” “เลี่ยง” ก็คือหลบหลีก “ลวง” ก็คือทำให้งงงวย
นี้นับเป็นกลยุทธ์ถอยทัพอย่างไม่กระโตกกระตาก เพื่อเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ หรือหลีกเลี่ยงความสูญเสียอย่างหนึ่ง - .....กลยุทธ์ที่ 22 ปิดประตูจับโจร
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อข้าศึกอ่อนแอจำนวนน้อย พึงโอบล้อมแล้ว ทำลายเสียให้สิ้น เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เราในภายหลัง
“ปล่อย มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” มาจาก “คัมภีร์อีกจิง ปล่อย” “ปล่อย” ในที่นี้หมายถึงการแตกกระจายออกเป็นกองเล็กกองน้อยของข้าศ ึก กำลังก็อ่อนเปลี้ยจนไร้สมรรถนะที่จะสู้รบแล้ว “ติดพัน” หมายถึงการไล่ติดตามไม่ลดละทั้งใกล้และไกล “มิเป็นคุณซึ่งติดพัน” ก็คือ ต่อข้าศึกกองเล็กกองน้อย ปล่อยให้หนีไปได้ แม้จะเล็ก แต่ก็สามารถย้อยกลับมาสร้างความยุ่งยากแก่เรา จนเราต้องไล่ติดตามเพื่อทำลายเสีย เช่นนี้มิเป็นประโยชน์แก่เรา - .....กลยุทธ์ที่ 23 คบไกลตีใกล้
กลยุทธ์นี้หมายความว่า เมื่อถูกจำกัดโดยสภาพแวดล้อม ควรตีเอาข้าศึกที่อยู่ใกล้ตัว จึงจะเป็นประโยชน์แก่ตน โจมตีข้าศึกที่อยู่ไกล จักเป็นผลร้ายแก่ตน
“เปลวไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง” หมายความว่า การผูกมิตรนั้น แม้ความคิดเห็นจะไม่ตรงกัน ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ต่าง” ความว่า “เปลงไฟลอยขึ้น น้ำบึงไหลลง บุรุษจักร่วมกันเพราะความผิดแผก”
ดังนั้น ต่อข้าศึกใกล้และไกล พึงมีนโยบายที่แตกต่างกัน นี้เป็นกลยุทธ์ที่ผูกมิตรกับรัฐไกล เพื่อเอาชัยต่อรัฐใกล้อย่างหนึ่ง - .....กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ
กลยุทธ์ร่วมรบ
“เมื่อร่วมรบด้วยพันธมิตร พึงให้ได้อำนาจบัญชาการ ทั้งฝ่ายเราและศัตรู”
- .....กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหา ทางเปลี่ยนแปลงแนวรบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแป รกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา - .....กลยุทธ์ที่ 26 ชี้ต้นหม่อนด่าต้นไหว
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือรัฐใหญ่รังแกผู้ที่อ่อนแอหรือ รัฐเล็กแล้ว ก็ควรจะใช้วิธีการตักเตือนให้เกรงกลัว ถ้าแม้นเราแสดงความเข้มแข็งให้ประจักษ์ ก็จักได้รับการสนับสนุนจากผู้อ่อนแอ ถ้าเรากล้าใช้ความรุนแรง ก็จักเป็นที่ยอมรับนับถือแก่ผู้อ่อนแอ
“แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ” เดิมาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม้ทัพ” ความเต็มว่า "แกร่งจึงต้อนรับ เสี่ยงจึงยอมสยบ นี้คือหนทางปกครองแผ่นดินราษฎรจึงขึ้นต่อ” - .....กลยุทธ์ที่ 27 แสร้งทำบอแต่ไม่บ้า
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม
คำว่า “ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน” เก็บความมาจาก “คัมภีร์อี้จิง หยุด” ความว่า “อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น - .....กลยุทธ์ที่ 28 ขึ้นบ้านชักบันได
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า จงใจเปิดจุดอ่อนให้ข้าศึกเห็น สร้างเงื่อนไขและล่อหลอกให้ข้าศึกเข้าตี ครั้นแล้วตัดขาดส่วนหน้าที่คอยสมทบ และส่วนหลังที่เป็นกำลังหนุน บีบให้ข้าศึกเข้าไปในปากถุงที่เปิดอ้าไว้รับหรือในวงล้อมห ลุมพรางที่วางดักไว้
“เจอพิษ มิควรที่” มีใน “คัมภีร์อี้จิง ขบ” เปรียบประดุจเคี้ยวกระดูกหรือเนื้อเหนี่ยว รังแต่จะทำให้ฟันชำรุดเสียหาย หรือเหมือนดั่งมักได้ในสิ่งที่มิควรได้ ย่อมจักนำมาซึ่งความวิบัติฉะนั้น - .....กลยุทธ์ที่ 29 ต้นไม้ผลิดอก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ใช้แนวรบของมิตรมาสร้างแนวรบที่เป็นประโยชน์แต่เราขึ้น แม้กำลังจะน้อย แต่ก็สามารถทำให้ดูเหมือนใหญ่โต ดุจเดียวกับนกอินทรีที่ผกผินอยู่ในอากาศ ปีกขนกางเหยียดมีท่วงท่าน่าเกรงขาม - .....กลยุทธ์ที่ 30 สลับแขกเป็นเจ้าบ้าน
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดช่องให้สอดแทรก ควรแทรก กุมจุดสำคัญหรือหัวใจของอีกฝ่ายไว้
“ค่อยผันสู่ชัยชนะ” พบได้ใน “คัมภีร์อี้จิง รุก” ซึ่งมีความเต็มว่า “สรรพสิงในใต้หล้า เคลื่อนอย่างใจร้อนจักเสีย สงบแต่คล้อยตามจักได้ ค่อยๆผันไปช้าๆ จักเป็นคุณ เคลื่อนดังนี้จึงจะมีผล” อันหมายความว่า การตอกลิ้มเข้าไปในฝ่ายตรงข้าม เพื่อยึดอำนาจการบัญชาการนั้น จัดต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้จึงจะบรรลุซึ่งชัยชนะได้
กลยุทธ์ยามพ่าย
“เมื่อกำลังเราอ่อนแอ แต่ศัตรูกล้าแข็งฮึกห้าว พึงรีบถอยโดยเร็ว ที่ถอยใช่แพ้ แต่เตรียมตีโต้กลับเมื่อพร้อม"
- .....กลยุทธ์ที่ 31 กลสาวงาม
กลยุทธ์นี้หมายความว่า สำรับข้าศึกที่มีกำลังเข้มแข็ง พึงสยบแม่ทัพเสียก่อน ต่อแม่ทัพที่เฉลียวฉลาด ก็โจมตีจุดอ่อนทางใจ ให้มีอุปสรรค ส่วนแม่ทัพที่ย่อนย่อท้อแท้ ไพร่พลที่กำลังถดถอย ก็จักเสื่อมโทรมแพ้พ่ายไปเอง - .....กลยุทธ์ที่ 32 กลปิดเมือง
กลยุทธ์นี้หมายความว่า กำลังเราอ่อนยิ่งจงใจแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการป้องกันเลย ทำให้ข้าศึกฉงนสนเท่ห์ ในสภาวะที่ข้าศึกมีกำลังมาก เรามีน้อย การใช้กลยุทธ์เช่นนี้ ก็มีความพิสดารพันลึกเป็นทวีคูณ
“ท่ามกลางแข็งกับอ่อน” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แก้” ใช้ควบกับคำว่า “พิสดาร ซ่อนพิสดาร” ซึ่งหมายความว่า ในขณะที่ข้าศึกแข็งแรงเราอ่อน ให้จัดกำลังโดยใช้กลยุทธ์ “กลวงยิ่งทำกลวง” แสดงให้เห็นถึงความพิสดารในกลศึกที่ข้าศึกคาดคิดไม่ถึง - .....กลยุทธ์ที่ 33 กลไส้ศึก
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกสร้างอุบายเพื่อให้ฝ่ายเราเกิดแตกแยก เราก็พึงซ้อนกลสร้างแผนลวงให้ข้าศึกเกิดร้าวฉาน ให้ข้าศึกระแวงสงสัยซึ่งกันและกัน ที่เราสามารถใช้เป็นประโยชน์ได้
“มีผู้แฝงอยู่ภายใน ไม่เสียหายแก่เรา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ช่วย” หมายความว่า เนื่องจากมีการช่วยเหลือมาจากภายในของข้าศึก จึงเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเรา เราจึงมีความมั่นใจที่จะตีข้าศึกให้ย่อยยับไป - .....กลยุทธ์ที่ 34 กลทุกข์กาย
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า โดยสามัญสำนึก คนเราทุกคนไม่ทำร้ายตัวเองหากบาดเจ็บ ก็เชื่อว่าคงถูกทำร้าย ถ้าแม้นสามารถทำเท็จให้เป็นจริง ให้ศัตรูเชื่อไม่สงสัย กลอุบายก็จะสัมฤทธิ์ผล ทว่าการทำให้ศัตรูเชื่อ ก็พึงเข้าใจในจุดอ่อนของศัตรู ทำเท็จให้จริงจัง ให้เชื่อจริงแท้
“อาศัยจุดอ่อนแห่งจิต ลู่ตามจึงพิชิต” คำนี้มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ปิด” หมายความว่า อาศัยความไร้เดียงสาของทารก ล่อหลอกโดยโอนอ่อนผ่อนตามไปก็จังลวงให้บรรลุประสงค์ได้ - .....กลยุทธ์ที่ 35 กลลูกโซ่
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อกำลังศัตรูเข้มแข็งกว่าหลายเท่า จักปะทะด้วยมิได้เป็นอันขาด พึงใช้กลอุบายนานา ให้ศัตรูต่างถ่วงรั้งซึ่งกันและกันทำลายความแกร่งของศัตรู หรือร่วมมือกับพลังต่างๆทั้งมวล ร่วมกันโจมตี เพื่อขจัดความฮักเหิมของศัตรูไป
“แม่ทัพผู้ปรีชา จักได้ฟ้าอนุเคราะห์” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” อันความหมายว่า แม่ทัพผู้ปรีชา ย่อมสามารถจะบัญชาการศึกได้อย่างคล่องแคล่วดุจดั่งคล้อยตา ม “ความประสงค์ของฟ้า” จักต้องได้รับชัยชนะเป็นมั่นคง - .....กลยุทธ์ที่ 36 หนีคือยอดกลยุทธ์
กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อรบกับข้าศึก หากข้าศึดแข็งเราอ่อน อาจจะถอยร่นอย่างรวดเร็ว เพื่อหลบเลี่ยงการปะทะเสียก่อน ดังที่มีคำกล่าวไว้ใน “คัมภีร์อี้จิง แม่ทัพ” ว่า “ถอยหนีมิผิด เป็นวิสัยแห่งสงคราม” ซึ่งชี้ชัดว่า การถอยหนี่ในการทำสงครามนั้น มิใช้ความผิดพลาด หากแต่เป็นเรืองธรรมดาเสียสามัญในการบที่มักจะพบเห็นเสมอ การถอนเช่นนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายในยามที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และเพื่อชิงโอกาสตอบโตภายหลังมิใช่ถอยหนีอย่างพ่ายแพ้หมดร ูป ตีโต้กลับมิได้อีก
ในตำราพิชั้ยสงครามชือ “ไหวหนานจื่อ ฝึกการยุทธทหาร” เคยกล่าวไว้ว่า “แข็งจึงสู้ อ่อนก็หนี” ในตำราพิชัยสงครามอีกเล่มหนึ่งชื่อ “ปิงฝ่าหยวนจีได้” ก็กล่าวไว้ว่า “แม้นหลบแล้วรักษาไว้ได้ ก็พึงหลบ” ใน “ซุนจื่อ บทกลยุทธ์” ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า “แข็งพึงเลี่ยงเสีย”