ธุรกิจสื่อแบบดั้งเดิม ตั้งแต่ 2-3 ปี ที่แล้ว สื่อสิ่งพิมพ์ คลื่นวิทยุ และค่ายเพลง ต้องทยอยปรับตัวกันไป เช่น ปรับตัวเป็นฟรีก๊อปปี้ ปรับจากรายปักษ์เป็นรายเดือน ลดจำนวนหน้าให้บางลง ปรับจากนิตยสารกระดาษเป็นนิตยสารออนไลน์ ปลดพนักงาน หรือให้ออกเองโดยสมัครใจ คลื่นวิทยุบางคลื่นต้องย้ายไปออกอากาศทางออนไลน์แทน หรือไม่ก็เลิกทำไปเลย อย่างคลื่นซี้ด 97.5 คลื่นวิทยุที่อยู่ในใจวัยรุ่นตอนปลาย ก็ปิดตัวไปแล้ว
ค่ายเพลงต้องเผชิญปัญหาเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ และสื่อออนไลน์ที่ให้ผู้บริโภคฟังเพลงกันฟรีๆ ไม่ต้องซื้อ ค่ายเพลงชื่อดังอย่างอาร์เอส ปรับกลยุทธ์ใหม่เมื่อต้นปี 2560 ว่าศิลปินคนใดต้องการออกอัลบั้มกับทางค่าย ต้อง "ร่วมลงทุน" ด้วยกัน แปลว่า ต้องเสียเงินทำอัลบั้ม และทำการตลาดร่วมกับทางค่าย ไม่มีการเดินมาตัวเปล่าแล้วทางค่ายปั้นให้ดังอีกต่อไปแล้ว
การปรับตัวของสื่อทั้งหมด ทำไปเพื่อความอยู่รอด ในยุคที่เม็ดเงินโฆษณาของสื่อรูปแบบเดิมลดลงจนอยู่ไม่ได้จ ริงๆ เมื่อรายได้ลดลงมาก หลายสื่อไม่มีทางเลือก นอกจากต้อง "ปิดตัว"
ตลอดปี 2560 ข่าวการปิดตัวของสื่อหลากหลายสำนัก เรียกได้ว่าเขย่าวงการ แม้ไม่น่าแปลกใจ แต่ทำเอาแฟนๆ ใจหาย และได้แต่ทำใจยอมรับ ว่าจะไม่มีนิตยสารที่คุ้นเคย ดีเจที่ฟังทุกวัน หรือบรรยากาศเก่าๆ ที่ฟังเพลงจากศิลปินคนโปรด ค่ายโปรด อีกต่อไปแล้ว
ปี 2559 บรรดาสื่อที่ปิดตัวไป ได้แก่ สกุลไทย, อิมเมจ, พลอยแกมเพชร, C-Kids, Cosmopolitan Thailand, I Like, Seventeen, Oops!, Lemonade, Volume, Candy, Who, ภาพยนตร์บันเทิง, KC Weekly, Writer, Viva Friday, บางกอกรายสัปดาห์ ฯลฯ ถือว่าเป็นปีที่นิตยสารพาเหรดปิดตัวกันมากเป็นประวัติ การณ์
สำหรับปีนี้ ลองมารวบรวมกันดูว่า มีสื่อไหนต้องโบกมืออำลาไป ในปี 2560 นี้ (เดือนต่างๆ หมายถึง จัดทำเป็นฉบับสุดท้าย หรือประกาศว่าจะเลิกดำเนินกิจการตั้งแต่เดือนนั้นๆ)
https://www.russelljohns.com/wpcontent/uploads/2016/04/shutterstock_224885602.jpg
สื่อหายไป : มกราคม
- หนังสือพิมพ์บ้านเมือง (ประกาศเลิกทำมาตั้งแต่เดือนธันวาคมของปีก่อนหน้า มีผล 1 มกราคม 2560)
สื่อหายไป : เมษายน
- "แมรี แคลร์" นิตยสารผู้หญิง ความงาม และไลฟ์สไตล์ อยู่คู่แผงมานาน 13 ปี
- คลื่นวิทยุ "94 อีเอฟเอ็ม" ย้ายคลื่นไปอยู่ 104.5 แทน
- คลื่น "104.5 ชิล เอฟเอ็ม" งดออกอากาศผ่านวิทยุ เปลี่ยนไปออกอากาศผ่านเว็บไซต์
https://img.kapook.com/u/2017/juthamat/Jutha02/mc_3.jpg
สื่อหายไป : พฤษภาคม
- "Men's Health" นิตยสารสำหรับผู้ชาย
- "Giraffe" ฟรีก๊อปปี้สุดแนว
สื่อหายไป : มิถุนายน
- นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์
- "วิทยุเนชั่น" คลื่นวิทยุที่มีรายการยอดฮิตคือ "เก็บตกจากเนชั่น" โดยคุณสุทธิชัย หยุ่น
- Go Genius นิตยสารวิทย์-คณิตเพื่อคุณหนูๆ
สื่อหายไป : กรกฎาคม
- "ครัว" นิตยสารอาหารและวัฒนธรรม
สื่อหายไป : สิงหาคม
- "Filmax" นิตยสารสำหรับคอภาพยนตร์
- Health & Cuisine นิตยสารอาหารและไลฟ์สไตล์
สื่อหายไป : กันยายน
- "Kamikaze" ค่ายเพลงขวัญใจวัยรุ่น
- "The Hollywood Reporter Thailand"
สื่อหายไป : พฤศจิกายน
- "สปริง เรดิโอ" คลื่นข่าว 98.5 ในเครือสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์
สื่อหายไป : ธันวาคม
- "ขวัญเรือน" และ "ดิฉัน" นิตยสารผู้หญิงระดับตำนาน
- ล่าสุดกับ "คู่สร้างคู่สม" ที่ตอนนี้ได้รับคำยืนยันจากคุณดำรง พุฒตาล เรียบร้อยแล้ว
เรียกว่าเป็นสื่อฉบับสุดท้ายที่น่าใจหายไม่น้อย กับคู่สร้างคู่สมที่อยู่กับคนไทยมายาวนาน และหลายคนไม่คิดว่าจะมีวันที่ต้องกล่าวคำอำลาสื่อนี้.....
หวังว่าปีหน้า 2018 จะไม่มีสื่อไหนหายไปจากเราอีก ก็ได้แต่รอดูกันต่อไป
Source:
https://data.boonmeelab.com/thaimagazine/
http://www.bbc.com/thai/thailand-39176803
https://www.matichonweekly.com/column/article_20204
https://www.facebook.com/thematterco/
https://www.posttoday.com/biz/news/438949
https://www.thairath.co.th/content/820113
http://www.nationtv.tv/main/content/378549004/
https://library.stou.ac.th/libblog/2017/09/05/นิตยสารไทยทยอยปิดตัว-ส่/
https:/www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/69872
https://voicetv.co.th/read/r1Rhk8K-G
http://www.newtv.co.th/news/5138
https://thestandard.co/goodbye10yearskamikaze/
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642115
https://www.mangozero.com/seed-fm-close/
https://www.matichon.co.th/news/509113