ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

Steve Jobs อุปนิสัย บุคลิกภาพ

Steve Jobs อุปนิสัย บุคลิกภาพ

โพสต์ใน: iOS / iPad / iPhone / - โดย - Apr 21, 2018

หนังสือ Steve Jobs ที่ Walter Isaacson เรียบเรียงขึ้นมาเป็นหนังสืออัตชีวประวัติที่ถือว่าหนาเล่มหนึ่ง (กว่า 600 หน้า) แต่ต้องยอมรับเป็นหนังสือที่อ่านเพลินWalter Isaacson สามารถเขียนได้ชวนติดตาม ไม่น่าเบื่อ และเมื่ออ่านจบแล้ว ทำให้เรารู้จักชีวิต ตัวตน วิธีคิด และวิธีการทำงานของ Steve Jobs ดีขึ้น ส่วนการจะประยุกต์ใช้วิธีคิดและวิธีการทำงานของ Jobs มาปรับใช้นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้อ่านแต่ละท่าน สัปดาห์นี้ผมจึงขอสรุปประเด็นสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของภาวะผู้นำและการบริหารจัดการ จากหนังสือ Steve Jobs มานำเสนอ เผื่อท่านผู้อ่านที่สนใจ จะได้ไปหาอ่านต่อได้ครับ

 

ต้องบอกเลยครับ เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว บอกได้เลยว่าทั้งกลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์ ปรัชญา และวิธีคิดของ Apple ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาจากความเป็นตัวตนของ Steve Jobs โดยแท้จริง เรามาดูกันก่อนนะครับว่า บุคลิกภาพและนิสัยส่วนตัวของ Jobs นั้นเป็นอย่างไร Jobs เป็นผู้ที่มีลักษณะเป็น Control-freaked หรือชอบควบคุมในสิ่งต่างๆ เขาชอบในสิ่งที่เขาสามารถควบคุมได้ และชอบที่จะควบคุมในสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เขาสนใจแล้ว เขาจะลงไปควบคุมในรายละเอียดทุกขั้นตอนอย่างใกล้ชิด

ลูกค้าไม่ทราบว่าตนเองต้องการอะไร จนกว่าจะได้เห็นสินค้าหรือบริการ Jobs จึงไม่เชื่อต่อการทำวิจัยตลาด แต่เชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง
 

นอกจากนี้ Jobs ยังเป็นคนประเภทที่เราเรียกว่า Perfectionist หรือชอบความสมบูรณ์แบบในทุกๆ สิ่งทุกอย่างที่ตนเองทำ ถ้าไม่สมบูรณ์ ก็จะไม่ยอมปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นออกมาได้ นอกจากนี้ ปรัชญาและความเชื่อของ Jobs ยังมุ่งเน้นในปรัชญาตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นของอินเดียหรือพุทธศาสนานิกายเซนของญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่สะท้อนออกมาในกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ของ Apple ทั้งสิ้น

 

จากคุณลักษณะส่วนตัวของ Jobs ข้างต้น เมื่อมาพิจารณาถึงกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ของ Apple นั้น จะพบว่าผลิตภัณฑ์และบริการของ Apple นั้นเป็นไปในลักษณะที่ครบถ้วนในทุกๆ ด้าน ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ร้านค้าปลีก ร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต ระบบปฏิบัติการ Office Suite ฯลฯ ซึ่งคำที่ Jobs และคนรอบข้างเขาชอบใช้ คือ end-to-end integration หรือความครอบคลุมและครบถ้วนตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งวัตถุประสงค์ของ end-to-end integration นั้นก็เนื่องจากความชอบที่จะควบคุมในสิ่งต่างๆ ของ Jobs นั้นเองครับ โดยเขาเชื่อว่าการที่บริษัทหนึ่งสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และ บริการได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ จะทำให้สามารถควบคุมประสบการณ์ในทุกขั้นตอนของลูกค้า และทำให้ลูกค้าได้รับในสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งแนวคิดดังกล่าวถือว่าตรงข้ามกับคู่แข่งที่สำคัญสองราย คือ Microsoft และ Google ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งคู่ เน้นในการทำในสิ่งที่ตนเองถนัด และจะหาพันธมิตรมาเสริมในสิ่งอื่นๆ โดยสินค้าและบริการที่ Microsoft และ Google นำเสนอนั้นจะไม่เป็นลักษณะ end-to-end integration เหมือนดัง Apple

 

นอกจากการมุ่งเน้นที่ end-to-end integration แล้ว Jobs ยังเล่าไว้ในโอกาสต่างๆ เสมอว่าสิ่งที่เขามุ่งเน้นนั้น คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Apple ให้ดีที่สุด โดยไม่ได้มุ่งเน้นในการสร้างกำไร (หลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วยในใจว่า Apple ไม่ได้มุ่งเน้นกำไรก็เป็นได้ครับ) โดย Jobs ระบุไว้ตลอดว่าเขาเป็น "Product Man" ดังนั้น Jobs จะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมากและเชื่อว ่าถ้าผลิตภัณฑ์ออกมาดีแล้ว ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวย่อมที่จะขายได้และนำมาสู่รายได้หรือกำไ รในภายหลัง

 

จากพื้นฐานของ Jobs ในเรื่องปรัชญาและความเชื่อของโลกตะวันออก ทำให้ Jobs เชื่อในหลักการของ Minimalist และ Simplicity ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งของพุทธศาสนานิกายเซน ทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple ที่ Jobs มีส่วนร่วมในการพัฒนานั้น มีความเป็น Minimalist และ Simplicity ผสมผสานอยู่เสมอ ซึ่งเจ้า Minimalist และ Simplicity นั้น ยังสอดคล้องกับอีกความเชื่อหนึ่งของ Jobs นั่นคือ การมุ่งเน้นหรือ Focus

 

Jobs เองโดยนิสัยส่วนตัว ถือว่าเป็นคนที่ก้าวร้าว เอาแต่ใจตนเอง ไม่ไว้หน้าพนักงานที่ทำงานไม่เก่งหรือไม่เป็นที่ถูกใจ ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดี แต่นิสัยดังกล่าวก็กลับกลายเป็นประโยชน์แก่ Jobs ในการที่จะเปลี่ยนแปลงต่างๆ ถ้า Jobs เป็นผู้บริหารที่ประนีประนอมหรือไม่มุ่งมั่นเท่าที่เป็นอย ู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งที่ Apple ก่อให้เกิดขึ้นมาก็คงจะไม่เกิดขึ้น อีกทั้ง Jobs เองก็เป็นผู้บริหารที่ทั้งเป็นผู้ที่คิดกว้าง มองภาพรวม แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นผู้ที่สนใจและใส่ใจในรายละเอียด และสำคัญ คือ เป็นคนที่เชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตนเอง Jobs กล่าวไว้เสมอครับว่า ลูกค้าไม่ทราบว่าตนเองต้องการอะไร จนกว่าจะได้เห็นสินค้าหรือบริการ ดังกล่าว ดังนั้น Jobs จึงไม่เชื่อต่อการทำวิจัยตลาด แต่เชื่อในสัญชาตญาณของตนเอง

 

หนังสือเล่มนี้สรุปได้ว่าการที่เรามี Apple และผลิตภัณฑ์ของ Apple มาให้ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น ก็เนื่องจาก Steve Jobs และถ้า Jobs ไม่ได้มีอุปนิสัย บุคลิกภาพ และนิสัยดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Apple ก็คงไม่เป็นไปในลักษณะปัจจุบัน อย่างไรก็ดี จากลักษณะอุปนิสัย พื้นฐาน บุคลิกภาพ วิสัยทัศน์ สัญชาตญาณ รวมถึงวิธีการในการคิด คงยากที่เราจะหาคนที่ลักษณะแบบ Steve Jobs ได้อีกครับ

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 22 พฤษภาคม 2555, หน้า 10

iPhone

User not write anything about he.
Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above

ลองอ่านดูน่าสนใจ: