ปัจจุบันรถยนต์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตข องคนเรา จะเห็นได้จากการมีผู้ใช้รถเป็นจำนวนมากขึ้นทั้งในด้านการค มนาคมและการขนส่งสินค้า ประกอบกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดก็มีสถิติสูงขึ้นเป็นเงาต ามตัว ดังนั้นความจำเป็นในเรื่องของการทำประกันภัยรถยนต์จึงต้อง มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะเป็นหลักประกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิตและธุร กิจในสังคมนั่นเอง
การประกันภัยรถยนต์เป็นการช่วยป้องกันทรัพย์สิน รวมถึงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในกรณีเกิดอุบัติเหตุก ับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องเป็นการรับผิดตามกฎหมาย และมีการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งอาจเป็นจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงภัยเหล่านี้จะลดภาระและความเดือดร้อนทางด้านการ เงินให้กับผู้เอาประกันภัยได้ด้วยการทำประกันภัย และในปัจจุบันผู้ที่ซื้อรถใหม่ก็ให้ความสำคัญกับการทำประก ันภัยมากขึ้น จะเห็นได้จากการต่อรองก่อนตัดสินใจซื้อรถจะมีเรื่องของการ ประกันภัยรถรวมอยู่ด้วย
การประกันภัยรถยนต์มี 2 ประเภท
- การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 บังคับให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทุกคันต้องทำประกันภั ยรถกับบริษัทประกันภัยเพื่อคุ้มครองทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสารที่อยู่ในหรือนอกรถ ดังนี้
ประเภท |
บาดเจ็บ (บาท) |
เสียชีวิต (บาท) |
ทุพพลภาพถาวร (บาท) |
บาดเจ็บ-เสียชีวิต บาดเจ็บ-ทุพพลภาพถาวร (บาท) |
ค่าเสียหายเบื้องต้น |
ตามจ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 |
35,000 |
รวมไม่เกิน 65,000 |
|
ค่าสินไหมทดแทน (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) |
ไม่เกิน 50,000 |
|
รวมไม่เกิน 200,000 |
|
ค่าชดเชยรายวัน กรณีรักษาตัวในฐานะคนไข้ใน |
ผู้ประสบภัยจากรถ (ที่เป็นฝ่ายถูก) มีสิทธิได้ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารักษาตัว ในสถานพยาบาล ในฐานะคนไข้ใน วันละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน |
|||
รวม |
ไม่เกิน 204,000 |
หมายเหตุ : กรณีไม่สามารถระบุผู้กระทำผิดได้ (ชนแล้วหนี) ผู้ประสบภัยทุกคนได้รับการคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต ้นเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติม
เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน กฎหมายจึงได้จัดตั้ง “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” ขึ้น ซึ่งเป็นกองทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภ ัยที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้ โดยแยกออกเป็น 6 กรณีดังนี้
(1) รถไม่มีประกันภัยและเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายหรือจ่ายค่าเสียหา ยไม่ครบจำนวน
(2) รถที่ถูกลักทรัพย์ ฉ้อโกงชิงทรัพย์
(3) รถที่ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและไม่มีการทำประกันภัย
(4) รถนั้นผู้ขับหลบหนีหรือไม่ทราบว่าความเสียหายเกิดจากรถคัน ใด
(5) บริษัทไม่จ่ายหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวนให้แ ก่ผู้ประสบภัย
(6) รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย
- การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
เป็นการประกันภัยที่สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองความรับผิ ดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหาย/สูญหายของตัวรถคันเอาประกันภัย ตลอดจนการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล ของผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันที่ทำประกันภัย รวมถึงสามารถซื้อความคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ในกรณี ที่ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยถูกควบคุมตัวในคดีอาญาไ ด้อีกด้วย
ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับประเภทการประกันภัยที่เราเลือก เช่น ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 หรือประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นต้น
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ |
||||||||
ประเภท ประกันภัยรถยนต์ |
คุ้มครอง |
คุ้มครองรถยนต์ |
คุ้มครองบุคคลภายในรถ |
|||||
|
ทรัพย์สิน |
บุคคล |
สูญหาย |
ไฟไหม้ |
การชน |
อุบัติเหตุ |
ค่ารักษา |
ประกัน |
ประกันภัยประเภท 1 |
√ |
√ |
√ |
√ |
√ |
√ |
√ |
√ |
ประกันภัยประเภท 2 |
√ |
√ |
√ |
√ |
- |
√ |
√ |
√ |
ประกันภัยประเภท 2+ |
√ |
√ |
√ |
√ |
√** |
√ |
√ |
√ |
ประกันภัยประเภท 3 |
√ |
√ |
- |
- |
- |
√ |
√ |
√ |
ประกันภัยประเภท 3+ |
√ |
√ |
- |
√* |
√** |
√ |
√ |
√ |
ประกันภัยทรัพย์สินบุคคลภายนอก |
√*** |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
หมายเหตุ : * ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเ ท่านั้น และมีค่าเสียหายส่วนแรก
2,000 บาทกรณีเป็นฝ่ายผิด
** ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเ ท่านั้น และมีค่าเสียหายส่วนแรก
2,000 บาทกรณีเป็นฝ่ายผิด
*** วงเงินความคุ้มครองไม่เกิน 100,000 บาท