ไอบีเอ็มประกาศเข้าซื้อ Red Hat ผู้ผลิตลินุกซ์รายสำคัญ โดยจ่ายเงินสด 190 ดอลลาร์ต่อหุ้น รวมมูลค่า 34,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.12 ล้านล้านบาท
Red Hat จะเข้าไปเป็นฝ่าย Hybrid Cloud ที่มีอิสระจากส่วนอื่น และยืนยันว่าจะเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการคลาวด์อื่นๆ ต่อไป เช่น AWS, Azure, GCE, หรือ Alibaba โดย Jim Whitehurst ซีอีโอของ Red Hat จะยังบริหารทีม Hybrid Cloud ต่อไป และจะเข้ารับตำแหน่งบริหารในไอบีเอ็ม
แม้ไอบีเอ็มจะมีบริการคลาวด์ของตัวเอง และมีบริการทับซ้อนกับ Red Hat แต่ที่ผ่านมาระดับฟีเจอร์และความนิยมก็ยังตามหลัง Red Hat หลายอย่าง เช่น IBM Cloud Private ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า Red Hat OpenShift โดยเฉพาะตัวระบบปฎิบัติการนั้นซอฟต์แวร์จำนวนมากของไอบีเอ ็มก็ต้องรันบน RHEL อยู่แล้ว
การควบรวมครั้งนี้ได้รับอนุมัติจากบอร์ดของทั้งสองบริษัทแ ล้ว แต่ต้องรอประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาอีกประมาณหนึ่งปี เสร็จสิ้นครึ่งหลังของปี 2019
ที่มา - Red Hat
ภายใต้ดีลนี้ IBM จะซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ Red Hat เป็นเงินสด คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 34,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ดีลเกิดขึ้นโดยมีเจพี มอร์แกน (JP Morgan) เป็นผู้ให้คำแนะนำฝ่าย IBM รวมถึงจัดหาเงินทุนส่วนใหญ่ ขณะที่กุกเกนไฮม์ พาร์ทเนอร์ส (Guggenheim Partners) เป็นตัวแทนฝ่าย Red Hat ในข้อตกลง
เมื่อไม่นานมานี้ Red Hat เริ่มกลายเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์คอมพิวติ้งทางเลือกให ม่ ทำให้หลายบริษัทเมินบริการคลาวด์ของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลย ี เช่น Amazon.com Inc. และ Microsoft Corp. ที่ต้องการให้ลูกค้าใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ข องค่ายใครค่ายมัน
ผลิตภัณฑ์ของ Red Hat เองนั้นคือผลิตภัณฑ์ที่ต่อยอดมาจาก Open Source Software ทั้งหมด โดยทาง Red Hat นั้นมี 3 ขั้นตอนในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดังนี้
- Participate Red Hat นั้นจะเข้าไปมีบทบาทร่วมในการสร้าง Community สำหรับโครงการ Open Source ต่างๆ ให้เติบโต และพัฒนา Software ที่สามารถใช้งานได้จริงขึ้นมา
- Integrate เมื่อ Software สามารถใช้งานได้แล้ว Red Hat ก็จะเข้าไปผลักดันให้ Open Source Software เหล่านั้นสามารถทำงานร่วมกับระบบและ Platform ได้ กลายเป็นโซลูชันที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานระดับองค์กรได้
- Stabilize Red Hat จะเริ่มนำระบบ Open Source เหล่านี้มา Commercialize ผนวกเป็นหนึ่งใน Ecosystem ของ Red Hat และเสริมบริการ, การฝึกอบรม, Certificate หรือเอกสารต่างๆ เพื่อให้การนำไปใช้งานจริงในระดับองค์กรสามารถเป็นจริงขึ้ นมาได้อย่างมั่นใจ
สถานะปัจจุบันของ Red Hat
Red Hat เป็นบริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สบริษัทเดียวที่มียอดขายเกิน พันล้านดอลลาร์ ปัจจุบันเน้นตลาดซอฟต์แวร์องค์กร โดยผลักดันให้ใช้ระบบไอทีกับงานระดับ mission critical
- มีลูกค้าครอบคลุม 90% ของบริษัทใน Fortune 500
- บริษัทมีสาขาใน 33 ประเทศ, สำนักงานรวม 75 แห่ง
- ได้รับรางวัลบริษัทนวัตกรรมอันดับ 4 ของ Forbes
ผลิตภัณฑ์ของ Red Hat ตอนนี้ครอบคลุมทั้งฝั่งระบบไอทีภายในองค์กร และระบบไอทีบนกลุ่มเมฆ
ฝั่งระบบไอทีภายในองค์กร มีครบตั้งแต่ระบบปฏิบัติการ RHEL, สตอเรจ Red Hat Storage Server, มิดเดิลแวร์ JBoss และซอฟต์แวร์บริหารจัดการระบบ ปัจจุบัน Red Hat มีส่วนแบ่งตลาด 62% ของเซิร์ฟเวอร์ลินุกซ์ นับตามจำนวนเครื่อง และ 73% ถ้านับจากรายได้
แพลตฟอร์มกลุ่มเมฆของ Red Hat ในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ระดับคือ
- OpenShift (PaaS)
- CloudForms (IaaS)
- OpenStack (framework) ล่าสุดเพิ่งเปิดตัว RDO และ Red Hat OpenStack รุ่นพรีวิว
รูปแบบการขาย OpenShift และ CloudForms คือขายโซลูชันให้กับ cloud provider อีกต่อหนึ่ง ปัจจุบันตัวอย่างลูกค้าด้านกลุ่มเมฆในไทยตอนนี้คือ TCC Technology (TCCT) ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ (บริษัทในเครือไทยเบฟ)
ผลิตภัณฑ์ของ Red Hat แบ่งเป็น 5 ระดับ หรือ 5 business unit ได้แก่
- Platform
- Middleware
- Storage
- Cloud
- Virtualization
Red Hat ยังไม่สนใจขยายธุรกิจไปยังระดับแอพพลิเคชันในลักษณะของ ERP หรือ CRM เน้นที่ตัวโครงสร้างพื้นฐานของระบบมากกว่า