ปกติเราใช้คำสั่ง: yum update จะตรวจสอบทุก Package ทั้งเก่าและใหม่ที่อยู่ในระบบก่อนทำการอัพเดตระบบ หากเราต้องการปิดสามารถทำดังนี้
ใช้คำสั่ง:
yum-config-manager --disable [ตามด้วยชื่อ Package]
เช่น
yum-config-manager --disable remi-php55
yum-config-manager --disable remi-php56
yum-config-manager --enable remi-php72
แล้วค่อยใช้คำสั่งอัพเดตระบบตามปกติ
yum update-y
คำสั่งใช้ดูว่า Yum ของ CentOS ดึงแพ็คเกจติดตั้งมาจากไหน
cat /etc/yum.repos.d/CentOS-Base.repo
คำสั่งใช้แก้ไขให้ Yum ดึงแพ็คเกจตามที่เราระบุ (เพื่อแก้ปัญหา Error ของคำสั่ง Yum Update)
sudo vi /etc/yum.repos.d/CentOS-Base.repo
การดึงแพ็คเกจของ Yum จะมีให้เราแก้ไขได้ 2 ตัวเลือก
1. mirrorlist คือ Yum จะเลือกดึงแพ็คเกจ Server ที่ใกล้ที่สุดให้เราเอง (ปัญหาที่เจอบ่อยคือแพ็คเกจเก่าอัพเดตไม่ได้)
mirrorlist=http://mirrorlist.centos.org/?release=$releasever&arch=$basearch&repo=os&infra=$infra
2. baseurl คือ Yum จะเลือกดึงแพ็คเกจ Server ของ centos (ข้อดีคืออัพเดตได้แน่นอน แต่หากหมดอายุ Support (EOL) แล้วจะอัพเดตไม่ได้เลย)
#baseurl=http://mirror.centos.org/centos/$releasever/updates/$basearch/
สังเกตห้ามลบ 2 ชื่อตัวแปรที่ปรากฎในลิงค์:
$releasever คือเวอร์ชั่นของระบบ
$basearch คือโฟลเดอร์ที่บรรจุแพ็คเกจ
เราสามารถระบุแหล่งติดตั้งแพ็คเกจในไทยได้เช่นกัน
baseurl=http://mirror1.ku.ac.th/centos/$releasever/os/$basearch/
http://mirrors.thzhost.com/
http://mirrors.psu.ac.th/
http://mirror1.ku.ac.th/