ทำไม กุมภาพันธ์มี 28 วัน และ 29 วัน
กุมภาพันธ์ เป็นเดือนที่ 2 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นเดือนที่มีจำนวนวัน 28 หรือ 29 วัน โดยปกติจะมี 28 วัน ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน
โดยที่มาของเดือนกุมภาพันธ์นั้นมาจาก จูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสตกาลนู้น ซีซาร์เป็นคนแรกที่ริเริ่มให้ใช้ "ปฏิทินจูเลียน" (Julian calendar) ซึ่งได้ทำการปรับเปลี่ยนจำนวนเดือนเสียใหม่ โดยก่อนหน้านั้นชาวโรมันใช้ "ปฏิทินโรมัน" กันมา ซึ่ง 1 ปีปฏิทินมี 10 เดือน (304 วัน) คือ Martius, Aprilis, Maius, Junius, Quintilis, Sextilis, September, October, November และ December เทียบแล้วก็คือ มีนาคม-ธันวาคม ของปัจจุบันนั่นเอง และในบางปีจะมีการทดเดือนพิเศษเข้ามาเพื่อให้มีวันใกล้เคี ยงตามสุริยคติ
จูเลียส ซีซาร์ ได้เห็นว่าปฏิทินแบบเดิมซึ่งนับเดือนตามข้างขึ้น-ข้างแรมน ั้นมีความไม่เหมาะสม จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 2 เดือน คือ January และ February (มกราคม และ กุมภาพันธ์) ให้แต่ละเดือนมีจำนวนวัน 30 และ 31 วันคละกันไป เว้นที่เดือนกุมภาพันธ์ที่ให้มี 29 วัน แต่ก็ยกเว้นในปีอธิกสุรทิน (ปีที่ปฏิทินมี 366 วัน) ก็จะให้เดือนกุมภาพันธ์มี 30 วันได้ นอกจากนี้ซีซาร์ยังได้เปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis ซึ่งเป็นเดือนเกิดของตนเป็น July ตามชื่อตัวเองด้วย
หลังจากที่ จูเลียส ซีซาร์ ได้กำหนดให้หนึ่งปีมี 12 เดือน พร้อมกับเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 29 และ 30 วัน สลับกันไปนั้น ปฏิทินจูเลียนก็ถูกใช้สืบต่อเรื่อยมา จนถึงยุคของ ออกัสตุส ซีซาร์ ลูกบุญธรรมของ จูเลียส ซีซาร์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปฏิทินจูเลียนก็มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกคราว โดยพระเจ้าออกัสตุสนั้นอยากมีเดือนเพื่อเป็นเกียรติแก่ตัว เองเช่นบิดาบ้าง จึงได้เปลี่ยนชื่อเดือน Sextilis ซึ่งเป็นเดือนเกิดของตนเป็นชื่อ August เท่านั้นยังไม่พอ ทรงเห็นว่าเดือนนี้มีเพียง 30 วัน ซึ่งการมีจำนวนวันเป็นเลขคู่นั้นถือเป็นเดือนโชคร้าย จึงไปดึงวันจากเดือนเกิดใหม่อย่างกุมภาพันธ์มาใส่ ทำให้เดือนสิงหาคมมี 31 วัน และเดือนกุมภาพันธ์เหลืออยู่ 28 วัน และก็กลายเป็น 29 วันในปีอธิกสุรทินอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
ทำไมต้องรอ 4 ปี ถึงจะมี 29 วัน
เหตุผลที่เดือนกุมภาพันธ์เดี๋ยวมี 28 วันบ้าง 29 วันบ้าง เป็นเพราะปฏิทินจูเลียนได้อ้างอิงการนับวันตามระบบสุริยคต ิหรือดูจากตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นหลัก และก่อนคำนวณปฏิทินนี้ขึ้น ชาวโรมันผู้ซึ่งเป็นคนพวกแรกที่คำนวณปฏิทินขึ้นมาใช้อย่าง เป็นระบบ ได้พบว่าโลกใช้เวลาทั้งหมด 365.25 วัน (นับเป็น 1 ปี) ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่จะให้ปฏิทินรอบ 1 ปี มี 365 กับเศษอีก 0.25 วัน ก็จะดูแปลกๆ จึงได้แก้ปัญหาว่าให้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันไปเรื่อย ๆ จนครบ 4 ครั้งเมื่อไร ก็เท่ากับว่าได้เวลา 0.25 วันเพิ่มขึ้นมาสี่รอบกลายเป็น 1 วันเต็มพอดี และก็ให้เดือนกุมภาพันธ์ของปีนั้นมี 29 วันไปนั่นเอง
คิดง่ายๆ ก็จะได้ตามนี้
ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ คือ 365.24224 วัน ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 28 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 365 วัน ก็ขาดไป 0.24224 วัน ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 366 วัน ก็เกินไป 0.24224 วัน ดังนั้น เพื่อง่ายแก่การเพิ่มหรือลดระยะเวลาที่ขาดหรือเกินไป จึงกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ส่วนที่ขาดไปปีละ 0.24224 วันนั้น (ประมาณ 6 ชั่วโมง) ก็ทดไว้จนครบ 4 ปี ก็จะได้วันอีกหนึ่งวัน
ดังนั้น จึงเพิ่มเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 28 วัน เป็น 29 วัน เรียกว่าอธิกสุรทิน (วันเกิน) วิธีการคำนวณหาเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันอย่างง่ายๆ เอาปี ค.ศ.ตั้ง หารด้วย 4 ลงตัว (ไม่มีเศษปีนั้น กุมภาพันธ์มี 29 วัน)