บทความนี้ได้เรียบเรียงและแจกแจงข้อควรรู้เกี่ยวกับการรัง วัดที่ดินให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาก่อน ตั ดสินใจเลือกซื้อที่ดิน รวมถึงป้องกันการเสียสิทธิ์ในพื้นที่ไปแบบฟรีๆ โดยที่คุณอาจไม่รู้ตัว
ความสำคัญของการรังวัดที่ดิน
สำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการซื้อ-ขายที่ดินควรให้ค วามสำคัญกับการขอรังวัดที่ดิน เนื่องจากการรังวัดที่ดินจะเป็นการตรวจสอบได้ว่า ขนาดของที่ดินที่คุณต้องการซื้อ-ขายอยู่นั้นตรงกันกับขนาด ที่ระบุไว้ในโฉนดหรือไม่
เพราะในบางครั้งเจ้าของที่ดินอาจทำการระบุเนื้อที่เกินหรื อน้อยกว่าพื้นที่จริง เนื่องจากข า ดการตรวจสอบหรือเว้นระยะการรังวัดที่ดินมานานแล้ว และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิ ดขึ้นตามมาภายหลัง คุณจึงควรทำการตกลงกับเจ้าของที่ดินเดิมให้ทำการติดต่อกับ เจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินกรมที่ดิน ในการเข้ามาวัดแนวเขตที่ดินให้เห็นชัดเจน
ซึ่งผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการทั้งหมด เนื่องจากเป็นการยืนยันขนาดที่ดินในการซื้อ-ขายที่ต้องตรง ตามโฉนดที่ปกติจะต้องทำการรังวัดที่ดินอยู่แล้วในทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการอ้างครอบครองปรปักษ์ โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปทำการตรวจสอบให้ตามคำขอ และทำการปักหมุดอาณาเขตที่ถูกต้องตามแปลงที่ดินจริงว่ามีก ารเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ส่วนในกรณีที่ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการสร้างบ้านนอกจากการรั งวัดที่ดินทั่วไปแล้ว ควรให้สถาปนิกมาวัดขนาดที่ดินจากหมุดเขต เพื่อให้ได้ขอบเขตบ้านที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มความแม่นยำก่อนจะลงมือออกแบบด้วย
รูปภาพประกอบ
ประโยชน์ของการรังวัดที่ดิน
เมื่อทราบว่าการรังวัดที่ดินคืออะไรไปแล้ว มาทราบถึงประโยชน์ของการรังวัดที่ดินกันต่อดีกว่าว่า จะช่วยให้เจ้าของที่ดินได้รับสิทธิในด้านใดได้บ้าง
- ป้องกันการเสียก ร ร มสิทธิ์ในที่ดิน เนื่องจากโดนแ ย่งก ร ร มสิทธิ์จากการรุกล้ำที่ดินโดยบุคคลอื่น เช่น การเลื่อนเขตหมุดที่ปักใหม่, การทำลายหมุด, การรุกล้ำพื้นที่ เป็นต้น
- ป้องกันการถูกรอนสิทธิ์ในที่ดิน ยกตัวอย่างเช่น การถูกใช้ที่ดินเป็นทางเข้า-ออกจากบุคคลอื่น
- ป้องกันการเหลื่อมล้ำจากเส้นทางสาธารณประโยชน์อื่น เข้ามาในที่ดินของเรา เช่น คลอง, ห้วย เป็นต้น ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้เจ้าของที่ดินโดนแบ่งหักที่ดินออกไปแ บบไม่รู้ตัว
- เพื่อให้รับรู้ถึงแนวเขตการครอบครองที่เปลี่ยนไปใหม่
- แก้ปัญหาการทับซ้อนของเขตจากที่ดิน นส.3 ก (โฉนดตราครุฑสีเขียว) เพื่อให้ทราบขนาดที่ดินที่ชัดเจน ซึ่งหากตรวจสอบจนชัดเจนแล้วจะสามารถเปลี่ยนเป็นโฉนดนส.4 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินได้เลย
ประเภทของการรังวัดที่ดิน
การรังวัดที่ดินสามารถยื่นคำขอได้ใน 2 กรณีด้วยกัน คือ
การรังวัดแบ่งแยก
หากเจ้าของที่ดินต้องการแบ่งที่ดินผืนใหญ่ออกเป็นหลายๆ แปลง ไม่ว่าจะด้วยการแบ่งขาย มอบเป็นมรดก หรือสาเหตุอื่นๆ เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้ าที่กรมที่ดินใหม่ และทำการออกโฉนดที่ดินของแปลงที่แบ่งแยกใหม่ให้แก่เจ้าของ ที่ดินเพิ่มเติมด้วย
การรังวัดรวมโฉนด
หากเจ้าของที่ดินทำการซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงที่ดินผืน เดิมแล้วต้องการรวมโฉนดใหม่ฉบับเดียว เจ้าของที่ดินจะต้องมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดินกับเจ้าหน้ าที่กรมที่ดินใหม่ และทำการออกโฉนดที่ดินแบบรวมใหม่ให้แก่เจ้าของที่ดินเพิ่ม เติม
รูปภาพประกอบ
สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรทราบก่อนการทำรังวัด
เพื่อที่จะได้เป็นเจ้าของก ร ร มสิทธิ์ในที่ดินอย่างถูกต้อง อีกทั้งไม่เสียที่ดินและเวลาไปแบบฟรีๆ ยังมีอีก 3 สิ่งที่เจ้าของที่ดินควรจะทราบและตรวจสอบให้เรียบร้อยก่อน ทำการรังวัดที่ดิน
ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เอกสารและที่ดินที่มีเป็นแบบใด
อย่างแรกที่เจ้าของที่ดินจะต้องตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนการร ังวัดที่ดินเลยก็คือ เ รื่ อ งของโฉนดที่ดิน โดยจะต้องจรวจสอบให้ดีว่า โฉนดที่ถืออยู่เป็นโฉนดที่ดินหรือเป็นเอกสารสิทธิที่ดินเท ่านั้น และถ้าเป็นโฉนดที่ดินที่เจ้าของมีสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่าง สมบูรณ์แล้ว ตัวโฉนดเป็นรูปแบบใดดังต่อไปนี้
–สปก. (ตราครุฑสีน้ำเงิน) เป็นหนังสือที่ดินทำกินห้ามโอนเปลี่ยนมือ
–นส.3 (ตราครุฑสีดำ) อนาคตสามารถออกเป็นโฉนดได้ สามารถซื้อขาย และจำนองได้ แต่ตอนจะขายต้องประกาศว่าจะขายล่วงหน้า
–นส.3 ก. (ตราครุฑเขียว) สามารถซื้อขาย จำนองได้ และตอนขายไม่ต้องประกาศว่าจะขายล่วงหน้า
–โฉนดนส.4 (ตราครุฑสีแดง) สามารถซื้อขาย จำนองได้ และสามารถโอนกssมสิทธิ์ได้
นอกจากเ รื่ อ งของโฉนดที่ดินแล้วยังต้องตรวจสอบพื้นที่รอบของที่ดินว่า มีใครเป็นเจ้าของบ้าง เผื่อในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าต้องออกหนังสือแจ้งให้เจ้าข องที่ดินแปลงข้างเคียงไปร ะวั งชี้รับรองเขตเพิ่มเติมจะต้องสามารถติดต่อได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. วิธีการยื่นคำขอรังวัดที่ดิน
เจ้าของที่ดินจะต้องทำการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อนำมายื่นคำร้องขอรังวัดที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น
-บัตรประจำตัวประชาชน
-ทะเบียนบ้าน
-หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
-โฉนดที่ดิน หรือหนังสือการรองรับทำประโยชน์ที่ดิน
หลักจากนั้นให้นำมายื่นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมทั้งทำการนัดวันเวลา สถานที่ และประเมินค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อย (สามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดของค่าใช้จ่ายทั้งหมดก่อนทำ การยื่นขอรังวัดที่ดินได้ที่ เว็บไซต์กรมที่ดิน)
ส่วนในวันที่ทำการรังวัดที่ดินเจ้าหน้าที่จะใช้กล้องสำรวจ เพื่อเก็บรายละเอียดรูปแปลงที่ดิน ซึ่งเจ้าของบ้านควรถ่ายรูปแนวเขตไว้เป็นหลักฐาน และรอเจ้าหน้าที่นัดรับโฉนดใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมในวันต่อๆ ไป เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการรังวัดที่ดินเรียบร้อยแล ้ว
3. วิธีการทำรังวัดที่ดิน
การรังวันที่ดินจะมีอยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
3.1.การรังวัด เป็นวิธีการวัดระยะความกว้างย าวของที่ดิน
3.2.การปักเขต เป็นวิธีการที่เจ้าหน้าที่ใช้หลักปักให้รู้ว่าที่ดินมีแน วอย่างไร
3.3การทำเขต เป็นวิธีการทำแนวเขต เพื่อให้รู้ว่าที่ดินมีรูปร่ า งอย่างไร และจดที่ดินข้างเขียงแปลงใดบ้าง
3.4การคำนวณเนื้อที่ จะใช้วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ที่ดินแปลนั้นมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเป็นเจ้าหน้าที่รังวัดที่ดินเข้าม าดำเนินการให้ตามจุดประสงค์ของการขอรังวัดที่ดินใหม่ไม่ว่ าจะเป็น การสอบเขตการรังวัดแบ่งแยกและรวมโฉนดที่ดิน, การรังวัดเพื่อแบ่งขายให้ การรังวัดแบ่งแยกในนามเดิม หรือเจ้าของที่ดินต้องการแบ่งก ร ร มสิทธิ์ใหม่ให้ลูกหลาน เป็นต้น