สำหรับคนไทยและนักเรียนไทย ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศ
ชายที่มีสัญชาติไทยทุกคนมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองท ุกคน (ตามมาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497) เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุครบ 21 ปี ต้องเข้ารับการเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อเป็นทหารตามภูมิลำ เนาที่ตนสังกัด อยู่ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนไทยและนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในต่างประเทศอาจขอผ่อน ผันการตรวจเลือก ทหารได้
1. การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน
ชายไทยทุกคนที่อายุย่างเข้า 18 ปีต้องยื่นใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินโดยการแสดงหลัก ฐานสูติบัตรหรือ บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านต่อนายอำเภอท้องที่ ด้วยตนเอง หรือในกรณีที่ไม่สามารถไปยื่นด้วยตนเอง สามารถให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะไปแจ้งแทน ถ้าไม่ไปหรือไม่มีผู้ไปแจ้งแทนถือว่า ผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน
2. การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร
- สำหรับนักเรียนในความดูแลของสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนของคณ ะกรรมการข้าราชการ พลเรือน ( ก.พ. ) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจะเป็นผู้ดำเนินการขอผ ่อนผันการตรวจ เลือกทหารให้แก่นักเรียนที่ประสงค์ โดยบิดามารดาหรือผู้ปกครองของนักเรียนหรือนักเรียน จะต้องติดต่อยื่นคำร้องต่อสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเ รือนเพื่อที่สำนัก งานฯ จะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยต่อไป
- สำหรับนักเรียนที่ออกไปศึกษา ณ ต่างประเทศโดยทุนส่วนตัวและไม่ได้อยู่ในความดูแลของสำนักง านผู้ดูแลนักเรียน ฯ กำหนดให้นักเรียนผู้ประสงค์จะขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร หรือบิดา-มารดา หรือผู้ปกครองยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอที่มีภูมิลำเ นาอยู่ เพื่อที่ดำเนินการสอบสวน โดยจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานต่างๆ ดังนี้
- ผู้ขอรับการผ่อนผันไปศึกษาวิชาอะไร ณ สำนักศึกษาใด
- วิชาที่ไปศึกษามีหลักสูตรกี่ปี (แสดงเอกสารหลักฐานของสถานที่ศึกษาประกอบ หากเป็นภาษาท้องถิ่น ผู้ขอจะต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ และรับรองเอกสาร
แบบคำถาม - คำตอบ
เกี่ยวกับการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้าเป็นทหารกองประจำการ
๑ | ถาม | กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ กำหนดหน้าที่ การรับราชการทหารไว้อย่างไร |
ตอบ | มาตรา ๖๙ บัญญัติว่า "บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร ฯลฯ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้" | |
๒ | ถาม | พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ กำหนดหน้าที่ชายไทยไว้อย่างไร |
ตอบ | มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย มีหน้าที่รับราชการ ทหารด้วยต้นเองทุกคน" | |
๓ | ถาม | วิธีนับอายุ ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร นับอย่างไร |
ตอบ | ถ้าเกิด พ.ศ.ใดให้ถือว่ามีอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์เมื่อสิ้น พ.ศ.ที่เกิดนั้น ส่วนการ นับอายุต่อไปให้นับเฉพาะปีที่สิ้น พ.ศ.แล้ว เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๒ จะเป็นวันเดือนใดก็ตาม ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ เมื่อสิ้น พ.ศ.๒๕๒๒ และนับ อายุครบ ๒,๓,๔ ฯลฯ ปีบริบูรณ์ เรียงตามลำดับเมื่อสิ้น พ.ศ. นั้น ๆ | |
๔ | ถาม | อายุเท่าไรจึงจะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน |
ตอบ | อายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ | |
๕ | ถาม | ทหารกองเกินหมายความว่าอย่างไร |
ตอบ | ทหารกองเกินหมายถึง ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว | |
๖ | ถาม | การลงบัญชีทหารกองเกิน (คนทั่วไปมักจะใช้ว่าไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) จะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอใด |
ตอบ | ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่ ลงบัญชีที่อำเภอที่บิดามีภูมิลำเนาถ้าบิดาตายมีมารดาลงบัญ ชีที่อำเภอที่มารดามีภูมิลำเนา ถ้าทั้งบิดามารดาตายมีผู้ปกครอง ลงบัญชีที่ อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา | |
๗ | ถาม | ถ้าบิดามารมิได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอใด |
ตอบ | ผู้ที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรส และบิดามิได้จดทะเบียนรับรองบุตร ลงบัญชีที่มารดามีภูมิลำเนา ถ้ามารดาตายลงบัญชีที่อำเภอที่ผู้ปกครองมีภูมิลำเนา | |
๘ | ถาม | ถ้าไม่สามารถลงบัญชีทหารตามที่กล่าวมาแล้วได้ จะต้องลงบัญชีที่อำเภอใด |
ตอบ | หากไม่เขากรณีดังกล่าวเลย หรือไม่สามารถลงบัญชีตามกรณีดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยกรณีใด ก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนา ถ้าไม่ปรากฏภูมิลำเนา (ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน) ก็ให้ลงบัญชีที่อำเภอท้องที่ที่พบตัวผู้นั้น | |
๙ | ถาม | เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินตามกำหนดแล้ว ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่เมื่อใด |
ตอบ | ถือว่า "เป็นทหารกองเกินตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ของ พ.ศ. ถัดไป" | |
๑๐ | ถาม | ภูมิลำเนาทหารหมายความว่าอย่างไร |
ตอบ | เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมี "ภูมิลำเนาทหาร" อยู่ในอำเภอท้องที่ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินนั้น | |
๑๑ | ถาม | หากประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาหรือย้ายที่อยู่เป็นการชั่วคราว จะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ให้แจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่ | |
๑๒ | ถาม | ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนดมีความผิดหรือไม่ |
ตอบ | ถ้าไม่แจ้งย้ายภายในกำหนด มีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | |
๑๓ | ถาม | หากลงบัญชีทหารกองเกินเกินกำหนด จะให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนภายหลังได้หรือไม่ |
ตอบ | ผู้ที่ไม่ได้มาลงบัญชีทหารกองเกินภายในกำหนด ถ้าอายุไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ ก็ให้ไปแสดงตนขอลงบัญชีที่อำเภอเช่นเดียวกัน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ สามารถปฏิบัติได้ แต่จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนมิได้ | |
๑๔ | ถาม | วิธีการลงบัญชีทหารกองเกิน จะต้องทำอย่างไร |
ตอบ | ให้ผู้ขอลงบัญชียื่นใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔) ขอได้ที่หน่วยสัสดีอำเภอ พร้อมด้วยสูติบัตร (ถ้ามี) บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดาถ้าบิดาตาย หรือผู้ปกครองถ้าบิดามารดาตาย ด้วย) ต่อนายอำเภอท้องที่ (สัสดีอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่) | |
๑๕ | ถาม | เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน |
ตอบ | เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐานเอกสารเห็นว่าถูกต้ องแล้ว จะรับลงบัญชีทหารกองเกินไว้ และออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือใบรับ (แบบ สด.๑๐)ให้เป็นหลักฐาน | |
๑๖ | ถาม | ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หากชำรุดหรือสูญหาย จะขอรับใหม่ได้หรือไม่ |
ตอบ | รับใหม่ได้ โดยให้ผู้ถือแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่เพื่อขอรับใบสำคัญฯ ใหม่ โดยเสียค่าธรรมเนียม ฉบับละ ๑ บาท แต่ถ้าการชำรุดหรือสูญหายนั้นเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม | |
๑๗ | ถาม | สามเณรเปรียญ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอหรือไม่ |
ตอบ | การลงบัญชีทหารกองเกินของสามเณรเปรียญ นายอำเภอท้องที่ (สัสดีอำเภอ) จะไปจัดทำที่วัดหรือสำนักสงฆ์โดยให้กรอกข้อความในใบแสดงตน ฯ เมื่อตรวจสอบหลักฐานถูกต้องจึงรับลงบัญชีและออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้ | |
๑๘ | ถาม | การลงบัญชีของผู้ทีอยู่ในระหว่างการควบคุมหรือคุมขังของเจ ้าหน้าที่ จะปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมหรือคุมขังส่งบัญชีรายชื่อให้นายอ ำเภอ เพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน แล้วออกใบสำคัญให้ | |
๑๙ | ถาม | พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่ |
ตอบ | พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศานสาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่สมณศักดิ์ ยกเว้นไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน | |
๒๐ | ถาม | ชนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่ |
ตอบ | ต้องลงบัญชีทหารกองเกินยกเว้นเฉพาะบางท้องที่ซึ่งไม่มีคุณ วุฒิที่จะเป็นทหารได้ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ.๒๕๑๘) ลง ๑๘ ก.ย.๑๘) ไม่ต้องลงบัญชีทหารกองเกิน |
|
๒๑ | ถาม | ทหารกองเกินต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหารเมื่อใด |
ตอบ | ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปขอรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ศ.นั้น (ภายใน ๓๑ ธ.ค.) | |
๒๒ | ถาม | ถ้าไปรับหมายเรียกด้วยตนเองไม่ได้ จะให้บุคคลอื่นไปรับหมายเรียกแทนได้หรือไม่ |
ตอบ | ถ้าไปรับด้วยตนเองไม่ได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและ เชื่อถือได้ไปรับแทน โดยการมอบฉันทะ แต่การจะให้รับหมายหรือไม่อยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอ | |
๒๓ | ถาม | ถ้าไม่ไปรับหมายเรียกฯ ภายในกำหนด จะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร |
ตอบ | ถ้าไม่ไปรับหมายเรียกฯ ภายในกำหนด หรือไม่มีผู้แทนไปรับถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืนมีโทษเท่ากับไ ม่ไปลงบัญชีทหารกองเกินข้างต้น (โทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) | |
๒๔ | ถาม | ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ต้องไปรับหมายเรียกหรือไม่ |
ตอบ | บุคคลดังกล่าวไม่ต้องไปรับหมายเรียกแต่อย่างใด | |
๒๕ | ถาม | มีใครอีกบ้างที่ไม่ต้องรับหมายเรียกฯ |
ตอบ | ผู้ที่ได้รับการยกเว้นไม่เรียกเข้ากองประจำการในยามปกติ เช่น นักศึกษาวิชาทหารฯ | |
๒๖ | ถาม | ผู้ที่พ้นจากฐานยกเว้นผ่อนผันฯ ต้องไปรับหมายเรียกหรือไม่ |
ตอบ | ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ. ที่พ้นจากฐานะยกเว้นด้วย | |
๒๗ | ถาม | เมื่อพ้นจากฐานะยกเว้นแล้ว ไม่ได้รับหมายเรียกจะมีความผิดหรือไม่ |
ตอบ | มีความผิดเช่นเดียวกับผู้ไม่ไปรับหมายเรียกที่อำเภอตามที่ กล่าวมาแล้ว | |
๒๘ | ถาม | การขอยกเว้นครู ซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการที่อยู่ในความควบคุมข องกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง |
ตอบ | มีเงื่อนไขดังนี้ ก. เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ ข. เป็นครูประจำเฉพาะวิชานักเรียน นักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ ค. มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๘ ชม. ในสถานศึกษาระดับมัธยมลงมา หรือไม่น้อยกว่า ๑๕ ชม. ในสถานศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา |
|
๒๙ | ถาม | การขอยกเว้นครู จะต้องทำอย่างไร |
ตอบ | ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูซึ่งได้รับการยกเ ว้น ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งครูผู้นั้นทำการสอนอยู่ในท้องที่ก่อนเดือนเมษายนของปี ที่ถูกเรียก ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน เมื่อตรวจสอบเป็นการถูกต้องผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกใบสำค ัญยกเว้นครู (แบบ สด.๓๗) ให้ | |
๓๐ | ถาม | เมื่อพ้นจากฐานะยกเว้นครู จะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ต้องต่อนายอำเภอท้องที่ที่ทำการสอน ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่พ้นจากฐานะการเป็นครู ถ้าไม่ปฏิบัติมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | |
๓๑ | ถาม | การขอผ่อนผันฯ บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาฯ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาของตนแล้วเป ็น หน้าที่ของสถาบันการศึกษา หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อผู้นั้นต่อผู้ว่าราชกา รจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะตรวจเลือกเข้ากองประจำการ | |
๓๒ | ถาม | อายุเท่าไร ถึงจะต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) |
ตอบ | อายุ ๒๑ ปี โดยจะต้องไปตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ตามหมายเรียก (หมายเกณฑ์) ที่ได้รับจากอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร | |
๓๓ | ถาม | ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ ต้องนำหลักฐานอะไรไปแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ |
ตอบ | ให้ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจเลือกฯ นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙), หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) , บัตรประจำตัวประชาชน, ประกาศนียบัตร,หรือหลักฐานการศึกษาฯ ไปแสดงในวันตรวจเลือกด้วย | |
๓๔ | ถาม | ในวันตรวจเลือกทหารผู้เข้ารับการตรวจเลือกฯ (เกณฑ์ทหาร) จะได้รับหลักฐานอะไร |
ตอบ | ได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) (บุคคลทั่วไปรู้จักกันในนามใบผ่านการเกณฑ์) จากประธานกรรมการตรวจเลือก | |
๓๕ | ถาม | ผู้ที่จะเป็นทหารกองประจำการ (ทหารเกณฑ์) ต้องมีขนาดรูปร่างอย่างไร |
ตอบ | ต้องมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซ็นติเมตรขึ้นไป ในเวลาหายใจออก และสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๔๖ เซ็นติเมตรขึ้นไป แต่ปกติจะคัดเลือกคนที่มีขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซ็นติเมตรขึ้นไปก่อน | |
๓๖ | ถาม | เมื่อจับได้สลากแดง หรือสมัครเป็นทหารกองประจำการเมื่อปลดจากการเป็นทหาร จะได้รับเอกสารหรือหลักฐานอะไร |
ตอบ | เมื่อปลดจากทหารกองประจำการ(ทหารเกณฑ์) จะได้รับหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ไว้เป็นหลักฐาน | |
๓๗ | ถาม | ทหารกองเกินเมื่อรับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเข้ารับการตรวจเ ลือกที่ไหนและเมื่อไร |
ตอบ | ทหารกองเกินที่ถูกเรียกจะต้องไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจเลือกตามกำหนดวัน เวลา และสถานที่ระบุไว้ในหมายเรียก | |
๓๘ | ถาม | กรณีเป็นผู้ที่มีความผิดไม่มารับหมายตามมาตรา ๒๕ อยู่ในระหว่างดำเนินคดี จะไปแสดงตนขอรับหมายเรียกฯ ได้หรือไม่ |
ตอบ | ไปขอรับหมายเรียกฯ เพื่อขอเข้ารับการตรวจเลือกฯ ได้ | |
๓๙ | ถาม | ผู้ที่ป่วยไม่สามารถจะมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ นำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก เพื่อสอบปากคำผู้แทนไว้ แล้วมอบให้อำเภอดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงตามทางการภายหล ัง | |
๔๐ | ถาม | คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ประกอบด้วยใครบ้าง |
ตอบ | ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตร ยศไม่ต่ำกว่าพันโท เป็นประธานกรรมการ, นายทหารสัญญาบัตรยศไม่เกินประธานกรรมการ ๒ คน, สัสดีจังหวัดต่างท้องที่ ๑ คน และแพทย์อีก ๑-๒ คนเป็นกรรมการ | |
๔๑ | ถาม | คณะกรรมการตรวจเลือกฯ มีเครื่องหมายเป็นข้อสังเกตอย่างไร |
ตอบ | คณะกรรมการตรวจเลือกฯ นี้ สวมปลอกแขนสีแดงขลิบริมสีน้ำเงิน ส่วนเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือกรรมการสวมปลอกแขนสีน้ำเงินขลิบร ิมสีแดง นอกจากนี้ ไม่ใช่บุคคล ในคณะกรรมการตรวจเลือกฯ | |
๔๒ | ถาม | เมื่อคณะกรรมการชั้นสูงตัดสินแล้ว จะต้องขอคัดค้านคำตัดสินได้หรือไม่ |
ตอบ | ไม่ได้เพราะคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูงให้เป็นที่สุด | |
๔๓ | ถาม | ผู้ที่ถูกกำหนดให้เข้ารับราชการกองประจำการ จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน |
ตอบ | นายอำเภอท้องที่ที่ตรวจเลือกฯ จะออกหมายนัดมาให้รับราชการทหารตามวันที่กำหนด | |
๔๔ | ถาม | ถ้าไม่ได้ไปรับราชการตามกำหนดหมายนัด (ขาดหมายนัด) จะมีความผิดหรือไม่อย่างไร |
ตอบ | ถ้าไม่มาตามหมายนัด ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี | |
๔๕ | ถาม | ถ้าผู้ใดทำร้ายร่างกายตนเองหรือให้ผู้อื่นทำเพื่อจะให้พ้น จากการรับราชการทหาร จะมีความผิดหรือไม่ |
ตอบ | มีความผิด มีโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป จนถึง ๘ ปี ผู้สมรู้เป็นใจในการทำร้ายร่างกาย เพื่อมุ่งหมายดังกล่าว มีความผิด โทษจำคุกตั้งแต่ ๖ เดือนขึ้นไปจนถึง ๔ ปี | |
๔๖ | ถาม | ผู้ที่จะอ้างสิทธิลดวันรับราชการได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ต้องแสดงหลักฐานต่อกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกฯ เท่านั้น ถ้าแสดงหลักฐานหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายและต้อ งเขียนคำร้องไว้ด้วย | |
๔๗ | ถาม | ถ้ารับหมายเรียกแล้ว ไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือกฯ จะมีโทษอย่างไรหรือไม่ |
ตอบ | บุคคลใดหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯทำกา รตรวจเลือกฯ ตามหมายเรียกของนายอำเภอ หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจเลือก หรือไม่อยู่ จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ (ก่อนที่กรรรมการจะปล่อยตัว) ถือว่าผู้นั้น หลีกเลี่ยงขัดขืน มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี | |
๔๘ | ถาม | ทหารกองประจำการหมายความว่าอย่างไร |
ตอบ | ทหารกองประจำการหมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด | |
๔๙ | ถาม | ผู้ที่อยู่ในกำหนดผ่อนผันฯ จะขอสละสิทธ์เข้าตรวจเลือกฯ จะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ให้ผู้ขอสละสิทธิ์ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือก (ตามแบบคำร้องขอสละสิทธิ์) แล้วคณะกรรมการตรวจเลือกฯ จะพิจารณาว่าสมควรให้เข้ารับการตรวจเลือกฯ หรือไม่ | |
๕๐ | ถาม | นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศโดยอยู่ในความปกครองดูแลของ ก.พ.จะขอผ่อนผันไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือกฯ ต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผู้ดำเนินการขอผ่อนผันต่อกระทรวงมหาดไทย (ผู้ว่าราชการจังหวัด) | |
๕๑ | ถาม | นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย (ทุนส่วนตัว) จะขอผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ อย่างไร |
ตอบ | ให้นักเรียนผู้ประสงค์ขอผ่อนผัน หรือบิดา มารดาหรือผู้ปกครองขอผ่อนผันต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร | |
๕๒ | ถาม | การขอผ่อนผันศึกษาต่อต่างประเทศต้องนำหลักฐานอะไรไปแสดงบ้ าง |
ตอบ | หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงมีดังนี้ ก. หลักสูตรการศึกษาของนักศึกษาและคำแปลเป็นภาษาไทย ลงชื่อ และตำแหน่งผู้แปล ข. สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด.๙) และสำเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร(ถ้ามี) ค. สำเนาทะเบียนบ้าน ง. คำร้องข้อผ่อนผันไปศึกษาวิชาอะไร สำนักศึกษาประเภทใดและประสงค์และประสงค์ขอผ่อนผันการตรวจเ ลือกทหารกี่ปี |
|
๕๓ | ถาม | หลีกเกณฑ์การขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศ มีอะไรบ้าง |
ตอบ | การยื่นขอผ่อนผันก่อนเดินทางไปต่างประเทศให้แจ้งด้วยว่าจะ เดินทางไปเมื่อใด โดยพาหนะอะไร และผู้ร้องต้องรับรองไว้ว่า เมื่อนักเรียนผู้นั้นเดินทางไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศแล้ว จะรีบส่งหนังสือรับรองของสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือผู้ดูแล นักเรียนไทยในประเทศนั้น ๆ ให้ภายใน ๓ เดือน นับแต่เดินทางออกจากประเทศไทย | |
๕๔ | ถาม | หลักฐานการขอผ่อนผัน ภายหลังเดินทางไปต่างประเทศแล้ว มีอะไรบ้าง |
ตอบ | การยื่นขอผ่อนผันภายหลังเดินทางไปต่างประเทศแล้วต้องมีหนั งสือรับรองสถานทูตหรือสถานกงสุลหรือผู้ดูแลนักเรียนไทยที่ ตั้งอยู่ ณ ประเทศที่ไปศึกษานั้นรับรองว่านักเรียน ผู้นั้นกำลังศึกษาวิชาอะไรอยู่ที่สำนักศึกษาใด เพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย | |
๕๕ | ถาม | เมื่อได้ขอผ่อนผันไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศถูกต้องแล้ว จะได้รับอะไรไว้เป็นหลักฐาน |
ตอบ | ผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย) จะออกหนังสือผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๑) มอบให้ไว้เป็นหลักฐาน | |
๕๖ | ถาม | เมื่อเข้าเป็นทหารกองประจำการแล้ว ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่อย่างไ ร |
ตอบ | ถ้าเข้ากองประจำการแล้ว ก็ยังยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้โดยตรงทีเดียวไม่ต ้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น | |
๕๗ | ถาม | ผู้ที่มาตรวจเลือกฯ เห็นว่าการวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องสามารถคัดค้านได้หรือไม่ อย่างไร |
ตอบ | ถ้าผู้ที่มาตรวจเลือกเห็นว่า การวัดขนาดของตนไม่ถูกต้องก็ให้คัดค้านได้ทันที เมื่อผ่านไปแล้วกรรมการอาจจะไม่พิจารณาให้ | |
๕๘ | ถาม | การสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการจะได้สิทธิเลือกเป็นทหารบ ก ทหารเรือ หรือทหารอากาศได้หรือไม่ |
ตอบ | ผู้นั้นมีสิทธิเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการเป็นทหาร บก ทหารเรือ หรือทหารอากาศได้ตามที่มีการส่งคนเข้ากองประจำการแผนกนั้น ๆ | |
๕๙ | ถาม | ผู้ที่รับหมายเรียกฯ แล้วไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากองประจำการตามกำหนดจ ะมีความผิดหรือไม่ อย่างไร |
ตอบ | ผู้ที่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปให้คณะกรรมการตรวจเลือกเข้ากอ งประจำการตามกำหนด มีความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๔๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี | |
๖๐ | ถาม | ผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้ว (ยังไม่เป็นทหารกองเกินจนกว่าจะถึง ๑ ม.ค.ถัดไป) หรือทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนไปอยู่ต่างท้องที่ในอำเภอเดียวกันหรือต่าง อำเภอชั่วคราวเกิน ๓๐ วัน จะปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ต้องแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนไปอยู่ชั่วคราวนั้น (สัสดีอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในท้องที่ โดยนายอำเภอจะออกใบรับ (สด.๑๐) ไว้เป็นหลักฐาน | |
๖๑ | ถาม | ผู้ที่ประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร (ย้ายหลักฐานทางทหารไปอยู่แห่งใหม่ เนื่องจากไปทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นประจำหรือไปมีถิ่นที่อยู่เ ป็นหลักฐาน) ต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ห้แจ้งต่อนายอำเภอที่ตนเข้ามาอยู่ (แจ้งอำเภอท้องที่ใหม่เพียงแห่งเดียว) ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น | |
๖๒ | ถาม | กรณีผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้ว ต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ให้นำหลักฐานไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหา ร ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต | |
๖๓ | ถาม | หากไม่แจ้งย้ายที่อยู่หรือไม่แจ้งเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุลภ ายในกำหนดจะมีความผิดหรือไม่ |
ตอบ | ผู้ที่เป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอแล้วแต่ยังไม่เป็ นทหารกองเกินมีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
|
๖๔ | ถาม | ถ้าทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนตายจะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ห้ผู้ปกครองหรือญาติ นำหลักฐานการตายแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ โดยนำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ส่งคืนด้วย | |
๖๕ | ถาม | คนหลีกเลี่ยงขัดขืนซึ่งต้องส่งเข้ากองประจำการ จะขอสิทธิลดวันรับราชการตามคุณวุฒิได้หรือไม่ |
ตอบ | ขอสิทธิลดวันรับราชการได้ตามคุณวุฒิ แต่จะใช้สิทธิร้องขอเข้ารับราชการไม่ได้ | |
๖๖ | ถาม | บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารฯ ต้องพ้นจากฐานะยกเว้น ต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ต้องไปแสดงตนเพื่อขอรับหมายเรียกฯ ที่อำเภอท้องที่ที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายใน พ.ค. นั้น | |
๖๗ | ถาม | มีข้อสังเกตอย่างไรที่เรียกว่า "ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม" |
ตอบ | หากท่านไม่ได้รับใบรับรองผลฯ จากประธานกรรมการตรวจเลือกฯ ในวันตรวจเลือกฯ หรือได้รับจากบุคคลอื่นหรือวันอื่น หรือได้รับโดยมิได้เข้ารับการตรวจเลือกฯ แสดงว่า เป็น "ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ ปลอม" | |
๖๘ | ถาม | กรณีมีบุคคลอ้างว่าสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ช่วยเหลือให ้พ้นจากการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ได้นั้น ช่วยได้จริงหรือไม่ |
ตอบ | อย่าหลงเชื่อการแอบอ้าง หรือหลอกลวงของเจ้าหน้าที่หรือบุคคลใดที่อ้างว่าจะช่วยเหล ือให้ท่านพ้นจากการเกณฑ์ทหารได้ นอกจากท่านจะได้รับใบรับรองผลฯ ปลอมแล้ว ยังจะต้องถูกดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายอีกด้วย | |
๖๙ | ถาม | กรณีที่ทหารกองเกินมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหารจะ ขอตรวจโรคก่อนเกณฑ์ได้หรือไม่อย่างไร |
ตอบ | ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจโรคก่อนเกณฑ์คือ ทหารกองเกินผู้ที่รู้ว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อ การรับราชการทหาร สามารถไปเข้ารับการตรวจได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก ๑๙ แห่ง ตามที่ได้ประกาศไว้ เช่น ส่วนกลางได้แก่ รพ.พระมงกุฎเกล้า | |
๗๐ | ถาม | โรคที่ควรเข้ารับการตรวจมีอะไรบ้าง |
ตอบ | ได้แต่โรคที่ขัดต่อการรับราชการทหารซึ่งไม่สามารถจะตรวจด้ วยตาเปล่า หรือต้องใช้เครื่องมือพิเศษทำการตรวจ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางจิตเวช ฯลฯ | |
๗๑ | ถาม | เอกสารที่ต้องนำไปให้คณะกรรรมการแพทย์ตรวจโรคก่อนการตรวจเ ลือก มีอะไรบ้าง |
ตอบ | เอกสารที่นำไป ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, ใบสำคัญ (แบบ สด.๙), และหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) ฉบับจริงและสำเนาที่ลงนามรับรองแล้ว | |
๗๒ | ถาม | ถ้าผู้ที่เข้าตรวจเลือกฯ ถูกเข้ากองประจำการเห็นว่า คณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรม จะยื่นคำร้องได้ที่ใด |
ตอบ | ให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูง (ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นอีก ๒ นาย) ได้ทันที แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็น ทหารก่อน จนกว่าจะได้รับคำตัดสินของคณะกรรมการชั้นสูง | |
๗๓ | ถาม | เมื่อเป็นทหารกองประจำการแล้ว ประสงค์จะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้หรือไม่อย่างไ ร |
ตอบ | ถ้าเข้ากองประจำการแล้ว ก็ยังยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้โดยตรงทีเดียวไม่ต ้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น | |
๗๔ | ถาม | นักเรียนทหาร จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร |
ตอบ | นักเรียนทหารเมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป | |
๗๕ | ถาม | นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องดำเนินการอย่างไร |
ตอบ | นักเรียนทหารเมื่อมีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ต้องไปขึ้นทะเบียนกองประจำการ | |
๗๖ | ถาม | บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่อย่างไร |
ตอบ | คคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องไปแสดงตนเพื่อขอลงบัญชีทหารกองเกินแต่ไม่เรียกมาตรวจเ ลือกเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ในยามปกติ | |
๗๗ | ถาม | การเกณฑ์ทหารใน เมษายน ๒๕๕๐ เกณฑ์คนอายุเท่าไร และเกิดปีใด |
ตอบ | ผู้ที่อยู่ในกำหนดต้องเข้าตรวจเลือกฯ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๐ คือ ๑. คนอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ.๒๕๒๙) ๒. คนอายุ ๒๒ ปี ถึง ๒๙ ปีบริบูรณ์ (เกิด พ.ศ.๒๕๒๘ ถึง ๒๕๒๑) ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกฯ และ/หรือผลการตรวจเลือกยังไม่เสร็จสิ้นไม่ว่ากรณีใดๆ ๓. นิสิต นักศึกษา นักเรียน ที่อยู่ในระหว่างจะได้รับการผ่อนผัน |
|
๗๘ | ถาม | ถ้าผู้ทีกำลังศึกษาอยู่จะขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร (การเกณฑ์ทหาร) ได้หรือไม่ |
ตอบ | ได้โดยต้องยื่นคำร้องแจ้งความประสงค์ขอผ่อนผันการตรวจเลือ กทหารต่อสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ | |
๗๙ | ถาม | คนพิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้จะต้องลงบัญชีทหารกองเกินหรือไม่ อย่างไร |
ตอบ | คนพิการ หรือทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้จะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน และจะต้องไปรับหมายเรียกด้วย แต่ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการ | |
๘๐ | ถาม | การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารมีกำหนดระยะเวลาการยื่นขอผ่อ นผันหรือไม่ |
ตอบ | มีกำหนดระยะเวลาคือ การขอผ่อนผันจะต้องส่งรายชื่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูม ิลำเนาทหารภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะเข้าตรวจเลือกทห ารฯ | |
๘๑ | ถาม | ถ้าจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ม.๖ ปวช. ฯลฯ จะต้องเป็นทหารกี่ปี |
ตอบ | ร้องขอฯ เป็น ๑ ปี ถ้าไม่ร้องขอฯ เป็น ๒ ปี | |
๘๒ | ถาม | ถ้าจบการศึกษาระดับ ปวท., ปวส., อนุปริญญาฯ หรือปริญญาตรีขึ้นไป จะต้องเป็นทหารกี่ปี |
ตอบ | ร้องขอฯ เป็น ๖ เดือน ถ้าไม่ร้องขอฯ เป็น ๑ ปี | |
๘๓ | ถาม | นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งได้แจ้งขอผ่อนผันการตรวจเลือกต่อสถาบันการศึกษาไว้แล้ วนั้น จะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกหรือไม่ |
ตอบ | ผู้ที่ขอผ่อนผันประเภทนี้ จะต้องไปรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) และไปแสดงตนในวันตรวจเลือกด้วย หากปีใดมีคนส่งคนเข้าเป็นทหารพอก็จะได้รับสิทธิผ่อนผัน ไม่ต้องเป็นทหารเฉพาะปีนั้น สำหรับปีต่อๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน | |
๘๔ | ถาม | จะขอผ่อนผันเลี้ยงบิดามารดา, เลี้ยงดูบุตร หรือเลี้ยงพี่น้องได้หรือไม่ อย่างไร |
ตอบ | การผ่อนผันดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดา มารดาซึ่งทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อ ื่นเลี้ยงดู หรือที่จำเป็นที่จะต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้คว ามสามารถหรือพิการทุพพลภาพ หรือที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาหรือร่ วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย | |
๘๕ | ถาม | การขอผ่อนผันดังกล่าวจะต้องปฏิบัติอย่างไร |
ตอบ | ก็ให้ไปชี้แจงต่อนายอำเภอเสียก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน กับให้ร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือกฯ ด้วย | |
๘๖ | ถาม | ก่อนจับสลาก หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการ กรณีที่ไม่มีการจับสลาก ผู้ที่เห็นว่าตนควรได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน ต้องดำเนินการอย่างไร |
ตอบ | องนำหลักฐานมาแสดงต่อคณะกรรมการตรวจเลือก ก่อนจับสลาก หรือก่อนกำหนดให้เข้ากองประจำการในกรณีที่ไม่มีการจับสลาก มิฉะนั้นให้ถือว่า หมดสิทธิที่จะได้รับการยกเว้นหรือผ่อนผัน | |
๘๗ | ถาม | เมื่อพ้นจากฐานะผ่อนผัน (จบการศึกษา) ต้องทำอย่างไร |
ตอบ | ให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่ หรือทำการประจำ ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่พ้นจากฐานะเช่นนั้น | |
๘๘ | ถาม | ทหารกองเกินที่ขาดไม่มาตามหมายนัดของนายอำเภอ และศาลได้พิพากษาว่ามีความผิด ฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน จะต้องดำเนินการอย่างไร |
ตอบ | ต้องเข้ารับการตรวจเลือก ถ้าร่างกายไม่ขัดต่อการเป็นทหารกองประจำการก็ให้ส่งผู้นั้ นเข้ารับราชการทหารกองประจำการในปีนั้นหรือปีถัดไปโดยไม่ใ ห้จับสลาก | |
๘๙ | ถาม | ทหารกองเกิน หรือทหารกองหนุนมีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลหร ือไม่อย่างไร |
ตอบ | มีหน้าที่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพล เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อมและในการระดมพล | |
๙๐ | ถาม | นักเรียนโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่อนผันให้กี่ปี |
ตอบ | ผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งนี้ไม่เกินอายุ ๒๒ ปีบริบูรณ์ | |
๙๑ | ถาม | นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยผ่อนผันให้กี่ปี |
ตอบ | ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาที่ไม่สูงกว่ าชั้นปริญญาโทและผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ผ่อนผันให้ระหว่างที่ปฏิบัติงา นเพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตฯ อีก ๑ ปี | |
๙๒ | ถาม | สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๑ (จบ รด.ปี ๑) ต้องเป็ฯทหารกี่ปี |
ตอบ | ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี ๖ เดือน (ไม่สมัครเป็นทหาร) แต่ถ้าเป็นผู้ที่ร้องขอฯ (สมัคร) ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง ๑ ปี | |
๙๓ | ถาม | ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๒ (จบ รด.ปี ๒) ต้องเป็ฯทหารกี่ปี |
ตอบ | ให้รับราชการทหารกองประจำการ ๑ ปี (ไม่สมัครเป็นทหาร) แต่ถ้าเป็นผู้ที่ร้องขอฯ (สมัคร) ก็ให้รับราชการทหารกองประจำการเพียง ๖ เดือน | |
๙๔ | ถาม | ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร ชั้นปีที่ ๓ (จบ รด.ปี ๓) ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ หรือไม่ |
ตอบ | ไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกฯ ให้หน่วยนำตัวขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหน ุนโดยมิต้องเข้ารับราชการกองประจำการ (ไม่ต้องไปเกณฑ์ทหาร) | |
๙๕ | ถาม | การนับอายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารมีกี่วิธี อะไรบ้าง |
ตอบ | การนับอายุตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารมี ๔ วิธี คือ ๑. การนับอายุบริบูรณ์ ๒. การนับอายุย่าง ๓. การนับอายุเป็นชั้นปี ๔. การนับอายุบุคคลไม่ปรากฏปีเกิด |
|
๙๖ | ถาม | ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เ ข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล มีความผิดหรือไม่อย่างไร |
ตอบ | มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ ปี ถึง ๔ ปี | |
๙๗ | ถาม | ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (ใบ สด.๔๓) จะได้รับจากใคร |
ตอบ | จากประธานกรรมการตรวจเลือกทหารฯ ในวันตรวจเลือกเท่านั้น ถ้ารับวันอื่น หรือจากบุคคลอื่นถือว่าเป็นใบปลอม | |
๙๘ | ถาม | ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุนผู้ใดหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เ ข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ มีความผิดหรือไม่อย่างไร |
ตอบ | มีความผิด ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ | |
๙๙ | ถาม | นายอำเภอสามารถประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไ ว้ที่อำเภอแล้วไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินใหม่ได้หรื อไม่อย่างไร |
ตอบ | เมื่อจำเป็นนายอำเภอมีอำนาจประกาศเรียกบุคคลที่ได้ลงบัญชี ทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้วไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเก ินใหม่ได้ ภายในกำหนด ๙๐ วันนับตั้งแต่วันประกาศ | |
๑๐๐ | ถาม | ใบรับรองผลการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๔๓) หรือที่เรียกว่าใบผ่านเกณฑ์ทหารมีความสำคัญอย่างไร |
ตอบ | เป็นหลักฐานที่แสดงผ่านการเกณฑ์ทหาร ที่ท่านจะต้องใช้แสดงต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ และบริษัทห้างร้าน เพื่อประโยชน์ในการสมัครงาน หรือขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเดิม เมื่อหมดอายุ | |