เรียกใช้ vi editor ให้พิมพ์ vi ตามด้วยชื่อไฟล์ เช่น #vi name1.txt จะเป็นการ edit ไฟล์ name1.txt (ถ้าไม่มีจะสร้างขึ้นใหม่เลย)
โหมดการทำงาน ผู้ใช้ใหม่ต้องรู้จักการทำงานมี 2 โหมดคือ
1. โหมด command – จะ save จะ quit จะค้นหาต้องอยู่ในโหมดนี้
เมื่อเริ่มใช้ vi จะเปิดไฟล์และอยู่ในโหมด Command (ไม่มีเมนู) จะบันทึกไฟล์ต้องพิมพ์ ตัวโคลอนตามด้วย w เช่น :w และกด Enter โปรดเรียรู้ทุกคำสั่งด้านล่าง
2. โหมดการพิมพ์ – จะแก้ไขไฟล์ให้กด i หรือ a จะเข้าสู่โหมดนี้ หลังจากแก้ไขไฟล์เสร็จให้กด Esc เพื่อออกไปอยู่โหมด command หลักจากอยู่ในโหมดนี้แล้ว จะบันทึกไฟล์ต้องพิมพ์ ตัวโคลอนตามด้วย w เช่น :w และกด Enter
3. จะออกจากหน้าจอ Editor พิมพ์ :q และกด Enter
* ทุกครั้งที่พิมพ์งานเสร็จต้องกด Esc เพื่อออกมาอยู่ในโหมด Command เพื่อจะได้ไม่เผลอมือไปโดนตัวอักษรใด ๆ
การกระทำการ (Operator)
เมื่ออยู่ในโหมด command เราสามารถใช้ปุ่มเหล่านี้กระทำการได้
i = เพิ่มตัวอักษร (insert) เป็นการเข้าสู่โหมดการพิมพ์ I = เพิ่มตัวอักษรต้นบรรทัด x = ลบตัวษรทีละ 1 ตัว 10x = ลบตัวอักษร 10 ตัว dw = ลบทั้งคำ dd = ลบทั้งบรรทัด 10dd = ลบ 10 บรรทัด yy = yank หมายถึง Copy ทั้งบรรทัด p = วาง (Paste) วางบรรทัดล่างจาก Cursor อยู่ P = วาง (Paste) วางแทรกบรรทัดปัจจุบัน
การจัดการเกี่ยวกับไฟล์
เมื่ออยู่ในโหมด command เราสามารถกระทำการเหล่านี้ได้ (ถ้าอยู่ในโหมดการพิมพ์ให้กด Esc ออกมาก่อน)
:w = write (save) ไฟล ์ :w ชื่อไฟล์ = write (save) ไฟล์ ด้วยชื่อที่กำหนด :wq = write (save) ไฟล์ และออกจาก vi (Quit) :wq! = write (save) ไฟล์ และออกจาก vi (Quit) ใช่กรณี read-only file :q! = ออกจาก vi โดยไม่ Save :set set nu = สั่งให้ vi แสดงหมายเลขบรรทัด set ic = สั่งให้เวลา Search ไม่ดูการค้น ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ใด ๆ (Ignore Case) set nu ic สั่งให้ทำงานทั้ง 2 แบบ