ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

การฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ ให้ถูกต้อง

1. คำที่ลงท้ายด้วย -OUS

จากเดิมที่เราออกเสียงว่า “อัส” ให้เปลี่ยนเป็น “เอิ่ส” (เสียงต่ำลงมาอีกหนึ่งสเต็ป) เช่น Famous จากเดิม เฟ-มัส เปลี่ยนเป็น เฟ๊-เหมิ่ส (พยางค์สองเสียงต่ำลงมาหนึ่งสเต็ป) หรืออีกคำ Dangerous จากเดิม แดน-เจอ-รัส เปลี่ยนเป็น แด๊น-เจอะ-เหริส

2. คำที่ลงท้ายด้วย -ing

ส่วนใหญ่คำกริยา เรามักจะออกเสียงว่า “อิ้ง” ให้ลดเสียงลงมาอีกหนึ่งสเต็ป เป็น “อิ่ง” เช่น Going เดิมออกเสียง โก-อิ้ง ไม่เอาแล้ว! ให้เปลี่ยนเป็น โก๊-อิ่ง, Reading จากเดิม รี๊ด-ดิ้ง เปลี่ยนเป็น รี๊ด-ดิ่ง, Comimg จากเดิม คัม-มิ้ง ขอออกเสียงสำเนียงเลิศๆ ว่า คั๊ม-หมิ่ง

3. คำที่ลงท้ายด้วย -ture

ออกเสียงผิดกันประจำ ปกติคนไทยออกเสียง “เจ้อร์” ให้เปลี่ยนให้ถูกต้องเป็น “เฉ่อร์” เช่น Picture เดิม พิค-เจ้อร์ เปลี่ยนเป็น พิค-เฉ่อร์ อย่างไปที่รังสิตต้องเจอ Future ไม่เอา ฟิว-เจ้อร์ แล้ว ออกเสียงเก๋ๆ เป็น ฟิว-เฉ่อร์ เลิศ!!

4. คำที่ลงท้ายด้วย -ly หรือ -ry

ที่เราจะออกเสียงว่า “ลี่” (จริงๆ ตัว R กับ L ถ้าให้ออกเสียงให้ถูกต้อง ต้องว่ากันยาว) ให้เปลี่ยนเป็น “หลี่” แทน เช่น Ferry เดิมออกเสียง เฟอ-รี่ เปลี่ยนเป็น เฟ-หรี่ รับรองเหมือนกับที่ฝรั่งพูดกันเด๊ะ!

5. คำที่ลงท้ายด้วย -tion

ปกติเราออกเสียงว่า “ชั่น” ให้เปลี่ยนเป็น “เฉิ่น” แทน เช่น Position เดิมคือ โพ-ซิ-ชั่น เปลี่ยนเป็น โพ-ซิ-เฉิ่น , Partition เดิม พาร์-ทิ-ชั่น เปลี่ยนเป็น พาร์-ทิ-เฉิ่น หรือคำยาวๆ เช่น Reputationw ไม่ออกเสียง เรพ-พิว-เท-ชั่น ให้พูดว่า เรพ-พิว-เท-เฉิ่น

6. คำที่ลงท้ายด้วย -ile

ปกติเราจะออกเสียงแค่พยางค์เดียว “อายล์” แต่ถ้าจะออกให้สำเนียงเป๊ะเว่อร์ ต้องออกเสียง 2 พยางค์ว่า “อายล์-เอิว์ล” เช่น Smile เดิมออกเสียง สะ-มายล์ เปลี่ยนเป็น “สะ-มายล์-เอิว์ลล”

7. คำที่ลงท้ายด้วย -er หรือ -or

ที่เรามักออกเสียงกัน “เอ้อ” ให้ลดคีย์ลงหนึ่งสเต็ป และออกเสียงว่า “เอ่อร์” แทน เช่น Farmer เดิมออกเสียง ฟาร๋ม-เม้อ เปลี่ยนนิดเดียวเป็น ฟาร๋ม-เหม่อร์, Tutor ถ้าสำเนียงไทยจัดๆ ออกเสียง ติว-เต้อร์ ลองเปลี่ยนให้ดีขึ้นมาอีกนิด ทิว-เท้อร์ หรือเอาให้สำเนียงเป๊ะเว่อร์ให้ออกเสียง ทิว-เถ่อร์ (ลดคีย์พยางค์หลังลงหนึ่งสเต็ป)

8. คำที่ลงท้ายด้วย -ment

จากเดิมที่เราออกเสียงว่า “เม้นท์” ให้เปลี่ยนลดเสียงต่ำลงเป็น “เหม่นท์” แทน เช่น คำนี้ที่เรามักจะเจอกันอยู่บ่อยๆ Comment จากเดิมเราอ่านว่า คอม-เม้นท์ ไม่เอาแล้ว! ให้เปลี่ยนเป็น ค่อม-เหม่นท์ เก๋กว่าเยอะเลย

9. คำที่ลงท้ายด้วย -our

คนไทยมักออกเสียงผิด โดยการออกเสียงพยางค์เดียวว่า “เอาร์” จริงๆ ถ้าจะออกให้สำเนียงเป๊ะนั้นจะต้องออกเสียง 2 พยางค์ “เอ้า-เหว่อ” เช่น Sour เดิม เซาร์ เปลี่ยนเป็น เซ้า-เหว่อ, Hour เจอบ่อยๆ เลย เปลี่ยนจาก เอาร์ เป็น “เอ้า-เหว่อ”

10. คำที่ลงท้ายด้วย -um

ถ้าออกเสียงแบบปกติคือ “อั้ม” ซึ่งฟังพอเข้าใจ แต่ถ้าอยากให้สำเนียงเลิศแบบสุดติ่ง ต้องออกเสียงว่า “เอิ่ม” เช่น Forum จาก ฟอ-รั่ม เป็น ฟอ-เหริ่ม, Serum ที่เรามักออกเสียงผิดแบบหนักๆ กันว่า ซี-รั่ม จริงๆ ต้องออกเสียงว่า เซีย-เหริ่ม

11. คำที่ลงท้ายด้วย -sion

เชื่อว่าคนไทยเกินล้านคนออกเสียงว่า “ชั่น” ซึ่งที่ที่ควรต้องออกเสียงว่า “เฉิ่น” เช่น Mansion ไม่ใช่ แมน-ชั่น ต้องออกเสียงว่า แมน-เฉิ่น , Desicion ก็ไม่ใช่ ดี-สิ-ชั่น ต้องออกเสียงว่า ดิ-ซิ-เฉิ่น

12. คำที่ลงท้ายด้วย -ral

เรามักออกเสียงกันว่า “รัล” (เร่า) แต่จริงๆ ควรออกเสียงว่า “เริล” เช่น น้ำแร่ Mineral ไม่เอา มิ-เนอ-รัล ให้เปลี่ยนเป็น มิ-เหน่อ-เริล

13. คำที่ลงท้ายด้วย -ire

ที่เรามักออกเสียงกันพยางค์เดียว “อาย” ให้ออกเสียงเป็น 2 พยางค์ คือ “อาย-เย้อร์” เช่น Fire เดิมๆ เคยออกเสียง ฟาย ให้เปลี่ยนเป็น ฟาย-เย้อร์ หรือ Tire จากเดิม ทาย เปลี่ยนเป็น ทาย-เย้อร์

14. คำที่ลงท้ายด้วย -el

คำนี้คนไทยออกเสียงผิดกันเยอะมาก เพราะชอบออกเสียงว่า “เอล” เช่น Model ออกเสียง โม-เดล ฝรั่งฟังแทบไม่ออกบอกเลย จริงๆ คำที่ลงท้ายว่า -el ไม่ใช่ “เอล” แต่เป็น “โอ็ล” ต่างหาก เช่นคำว่า Model ออกเสียงว่า เม๊าะ-โด็ล, Level ไม่ใช่ เล-เวล ต้องออกเสียงว่า เล๊ะ-โฝว็ล

15. คำที่ลงท้ายด้วย -ant (เฉพาะคำสองพยางค์ขึ้นไป)

เดิมปกติเราออกเสียงว่า “แอ๊นท์” ให้เปลี่ยนเป็น “เอิ่นท์” เช่น Important จากเดิม อิม-พอ-แท๊นท์ ให้เปลี่ยนเป็น อิม-เพาะ-เทิ่นท์, Mutant เดิมออกเสียง มิว-แท๊นท์ ก็เปลี่ยนเป็น มิว-เทิ่นท์ หรือคำยาวๆ อย่าง Participant พา-ทิ-ซิ-แพ๊นท์ ก็แค่เปลี่ยนพยางค์สุดท้ายเป็น พา-ทิ-ซิ-เพิ่นท์

เทคนิคการออกเสียง ภาษาอังกฤษให้เป๊ะเว่อร์

16. คำที่ลงท้ายด้วย -ger

ที่เรามักใส่กันสุดคำว่า “เจ้อร์” ให้เปลี่ยนเป็นแค่ “เจ่อะ” พอค่ะ เช่น Manager หลายคนอ่านกันว่า แม-เน-เจ้อร์ แต่ที่ถูกต้องคือ มะ-หนิด-เจ่อะ, Ledger ไม่ใช่ เล็ด-เจ้อร์ แค่ออกเสียง เล็ด-เจ่อะ ก็พอแล้ว

17. คำที่ลงท้ายด้วย -om

เราออกเสียงกันแบบไทยสไตล์ว่า “อ้อม” แต่จริงๆ แค่ “เอิ่ม” ก็พอ เช่น รณรงค์ให้ใช้ถุงยาง Condom ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ Condom มิใช่ คอน-ด้อม ออกเสียงแบบฝรั่งคือ ค๊อน-เดิ่ม, Random เปลี่ยนจาก แรน-ด้อม เป็น แรน-เดิ่ม, Bottom เดิมๆ คือ บ๊อต-ท่อม ต้องออกเสียงเป็น บ๊อต-เถิ่ม

18. คำที่ลงท้ายด้วย -ton (2 พยางค์ขึ้นไป)

ปกติชอบออกเสียงกันแบบไทยๆ ว่า “ต้อน” จริงๆ ออกเสียงแบบฝรั่ง ต้องออกว่า “เทิ่น” ต่างหาก เช่น Cotton Bud เราออกเสียงกันว่า คัท-ตั้น-บัด แต่จริงๆ ต้องออกเสียงว่า คัท-เทิ่น-บัด, Carton ก็ไม่ใช่ คาร์-ต้อน เปลี่ยนเป็น คาร์-เทิ่น

19. คำที่ลงท้ายด้วย -ure (บางคำ)

หลายๆ คำ เรามักจะเจอบ่อยๆ เช่น Pure, Cure, Secure เป็นต้น คำลงท้ายด้วย -ure เราชอบออกเสียงกันว่า “เอียว” เช่น Pure ออกเสียงว่า เพียว ซึ่งไม่ถูก (แต่ก็ไม่มาก ฝรั่งพอฟังออก) แต่ถ้าจะให้แบบถูกต้องก็คือ “พเยอร์” อ่านว่า พะ-เยอร์ ต้องควบคุมเสียงหรือออกเสียงเร็วๆ ให้เหมือนเป็นพยางค์เดียว ดังนั้น Cure ก็ไม่ใช่ เคียว ต้องเป็น คเยอร์ แทนนะจ๊ะ

20. คำที่ลงท้ายด้วย -us

โดยปกติเราชอบออกเสียงว่า “อัส” ไม่ก็ “อุส” แต่ถ้าจะให้เป็นสำเนียงฝรั่งจริงๆ ต้องออกเสียงว่า “เอิ่ส” เช่น Status เดิมๆ ออกเสียงว่า สะ-เต-ตัส เปลี่ยนเป็น สะ-เต-เทิ่ส, ปลาหมึกยักษ์ Octopus เราจะไม่ออกเสียงว่า อ๊อก-โต-พุส ต่อจากนี้ให้ออกเสียงว่า อ๊อก-เถอะ-เผิส

21. คำที่ลงท้ายด้วย -land

เจอปุ๊บ ออกเสียง “แลนด์” ปั๊บ! ซึ่งฝรั่งจะไม่ออกเสียงงี้ แต่เขาจะออกเสียงว่า “เลิ่นด์” เช่น Scotland ออกเสียงที่ถูกคือ สก๊อต-เลิ่นด์, New Zealand ก็ออกเสียง นิว-ซี๊-เลิ่นด์ แต่ยกเว้นคำว่า Thailand กับ Foodland

22.คำที่ลงท้ายด้วย -en

เราชอบออกเสียงกันว่า “เอ้น” จริงๆ ต้องออกเสียงว่า “อึ่น” เช่น Garden เดิมๆ คือ การ์-เด้น แต่ถ้าจะเอาให้ฝรั่งเก็ทก็ต้องออกเสียงว่า การ์-ดึ่น, Kitten ลูกแมว ก็ไม่เอา คิท-เท่น ที่ดีงามต้องเป็น คิท-ทึ่น หรือ Kitchen ก็ไม่ คิท-เช่น ละต้องเป็น คิท-ฉึ่น

23. คำที่ลงท้ายด้วย -ard (ตั้งแต่ 2 พยางค์ขึ้นไป)

เรามักจะออกเสียง “อาร์ด” กัน ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่! ฝรั่งออกเสียงกันว่า “เอิด” เช่น Wizard ไม่ใช่ วิ-สาร์ด ที่ถูกต้องคือ วิ-เสิด, จิ้งจก : Lizard ก็ไม่ใช่ ลิ-สาร์ด ออกเสียงเป็น ลิ-เสิด แม้กระทั่ง Standard จากเดิม สะ-แตน-ดาร์ด จริงๆ คือ สะ-แตน-เดิด

24. คำที่ลงท้ายด้วย -le

ที่เราออกเสียงกันแบบคุ้นปากตั้งแต่เด็กๆ ว่า “เอิ้ล” ซี่งจริงๆ ต้องพูดว่า “โอ็ล” แบบเสียงสั้น เช่น Table ใครก็รุ็ว่าอ่านว่า เท-เบิ้ล แต่ที่ถูกก็คือ เท-โบ็ล, Double เปลี่ยนจาก ดับ-เบิ้ล เป็น ดึ่บ-โบ็ล, สายเคเบิ้ล Cable ก็ให้ออกเสียงใหม่เป็น เค๊-โบ็ล

25. คำที่ลงท้ายด้วย -ley

เราชอบออกเสียง “เล่” แต่ที่ถูกต้องคือ “ลี่” เช่น รถเข็น Trolley ก็ไม่ใช่ โทรล-เล่ ที่ถูกคือ ทรอ-หลี่, เพลง Medley ก็ไม่ใช่ เมดเล่ ต้องออกเสียงว่า เม็ด-ลี่ พยางค์แรกออกเสียงสั้นด้วยนะ

26. คำที่ลงท้ายด้วย -ian

ที่เรามักเจอในความหมายว่าเป็น “นัก” ต่างๆ แล้วชอบออกเสียงงว่า เชี่ยน ให้เปลี่ยนเป็น เฉิ่น จะดีกว่า เช่น นักมายากล Magician ไม่ เม-จิก-เชี่ยน ละ เปลี่ยนเป็น เม๊-จิ-เฉิ่น, นักดนตรี Musician มิว-สิค-เชี่ยน เปลี่ยนเป็น มิว-ซิ-เฉิ่น

27. คำที่ลงท้ายด้วย -oil

ดูเหมือนไม่มีอะไร เพราะเราอ่าน “ออย” กันอยู่แล้ว แต่ที่จริงต้องออกเสียง 2 พยางค์ “ออย-เยิ่ล” เช่น น้ำมัน Oil ออกเสียงว่า ออย-เยิ่ล , soil ดิน ไม่แค่ ซอย แต่ต้อง ซอย-เยิ่ล, ต้มน้ำจนเดิอด boil ก็ต้อง บอย-เยิ่ล

ที่มา : www.mindenglish.net

Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above