ลงทะเบียน
ใกล้กัน ช่วยให้คุณแชร์เรื่องราวต่างๆ กับผู้คนมากมาย

โดย

          ปัจจุบันรถยนต์ถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตข องคนเรา จะเห็นได้จากการมีผู้ใช้รถเป็นจำนวนมากขึ้นทั้งในด้านการค มนาคมและการขนส่งสินค้า ประกอบกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดก็มีสถิติสูงขึ้นเป็นเงาต ามตัว ดังนั้นความจำเป็นในเรื่องของการทำประกันภัยรถยนต์จึงต้อง มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะเป็นหลักประกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิตและธุร กิจในสังคมนั่นเอง

          การประกันภัยรถยนต์เป็นการช่วยป้องกันทรัพย์สิน รวมถึงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในกรณีเกิดอุบัติเหตุก ับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องเป็นการรับผิดตามกฎหมาย และมีการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งอาจเป็นจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงภัยเหล่านี้จะลดภาระและความเดือดร้อนทางด้านการ เงินให้กับผู้เอาประกันภัยได้ด้วยการทำประกันภัย และในปัจจุบันผู้ที่ซื้อรถใหม่ก็ให้ความสำคัญกับการทำประก ันภัยมากขึ้น จะเห็นได้จากการต่อรองก่อนตัดสินใจซื้อรถจะมีเรื่องของการ ประกันภัยรถรวมอยู่ด้วย

 

          การประกันภัยรถยนต์มี 2 ประเภท

 

  1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 บังคับให้เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถทุกคันต้องทำประกันภั ยรถกับบริษัทประกันภัยเพื่อคุ้มครองทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสารที่อยู่ในหรือนอกรถ ดังนี้

 

ประเภท

บาดเจ็บ

(บาท)

เสียชีวิต

(บาท)

ทุพพลภาพถาวร

(บาท)

บาดเจ็บ-เสียชีวิต

บาดเจ็บ-ทุพพลภาพถาวร

(บาท)

ค่าเสียหายเบื้องต้น

ตามจ่ายจริง

ไม่เกิน 30,000

35,000

รวมไม่เกิน 65,000

ค่าสินไหมทดแทน

(รวมค่าเสียหายเบื้องต้น)

ไม่เกิน 50,000

 

รวมไม่เกิน 200,000

ค่าชดเชยรายวัน

กรณีรักษาตัวในฐานะคนไข้ใน

ผู้ประสบภัยจากรถ (ที่เป็นฝ่ายถูก) มีสิทธิได้ค่าชดเชยรายวันกรณีเข้ารักษาตัว                             ในสถานพยาบาล ในฐานะคนไข้ใน วันละ 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน

รวม

ไม่เกิน 204,000

หมายเหตุ : กรณีไม่สามารถระบุผู้กระทำผิดได้ (ชนแล้วหนี) ผู้ประสบภัยทุกคนได้รับการคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต ้นเท่านั้น

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน กฎหมายจึงได้จัดตั้ง “กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” ขึ้น ซึ่งเป็นกองทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภ ัยที่ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากใครได้ โดยแยกออกเป็น 6 กรณีดังนี้

(1) รถไม่มีประกันภัยและเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายหรือจ่ายค่าเสียหา ยไม่ครบจำนวน

(2) รถที่ถูกลักทรัพย์ ฉ้อโกงชิงทรัพย์

(3) รถที่ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและไม่มีการทำประกันภัย   

(4) รถนั้นผู้ขับหลบหนีหรือไม่ทราบว่าความเสียหายเกิดจากรถคัน ใด 

(5) บริษัทไม่จ่ายหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวนให้แ ก่ผู้ประสบภัย

(6) รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย

 

  1. การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

เป็นการประกันภัยที่สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองความรับผิ ดต่อบุคคลภายนอก ความเสียหาย/สูญหายของตัวรถคันเอาประกันภัย ตลอดจนการประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล ของผู้ขับขี่และผู้โดยสารในรถคันที่ทำประกันภัย รวมถึงสามารถซื้อความคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ในกรณี ที่ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยถูกควบคุมตัวในคดีอาญาไ ด้อีกด้วย

ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับประเภทการประกันภัยที่เราเลือก เช่น ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 หรือประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นต้น

 

          ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประเภท

ประกันภัยรถยนต์

คุ้มครอง
บุคคลภายนอก

คุ้มครองรถยนต์
คันที่เอาประกันภัย

คุ้มครองบุคคลภายในรถ
คันที่เอาประกันภัย

 

ทรัพย์สิน

บุคคล

สูญหาย

ไฟไหม้

การชน

อุบัติเหตุ
บุคคล

ค่ารักษา
พยาบาล

ประกัน
ผู้ขับขี่

ประกันภัยประเภท 1

ประกันภัยประเภท 2

-

ประกันภัยประเภท 2+

√**

ประกันภัยประเภท 3

-

-

-

ประกันภัยประเภท 3+

-

√*

√**

ประกันภัยทรัพย์สินบุคคลภายนอก

   √***

-

-

-

-

-

-

-

 

หมายเหตุ :  * ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเ ท่านั้น และมีค่าเสียหายส่วนแรก   

                  2,000 บาทกรณีเป็นฝ่ายผิด

              ** ต้องเกิดจากกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเ ท่านั้น และมีค่าเสียหายส่วนแรก  

                  2,000 บาทกรณีเป็นฝ่ายผิด

           *** วงเงินความคุ้มครองไม่เกิน 100,000 บาท

 

Captcha Challenge
ลองรูปภาพใหม่
Type in the verification code above