เลือกตั้ง มีนาคม 2562 รับบัตรใบเดียว กาได้เบอร์เดียว (จะได้ผล 3 อย่าง ส.ส.เขต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายกรัฐมนตรี)
ภายในประเทศ
การเลือกตั้งนอกเขต ให้ไปใช้สิทธิ์ 17 มีนาคม 2562
การเลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ 24 มีนาคม 2562
อยู่ต่างประเทศ
การเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ให้ไปใช้สิทธิ์ 4-16 มีนาคม 2562
*ผู้เลือกตั้งนอกเขต และนอกราชอาณาจักร ต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562
1. ตรวจสอบรายละเอียดผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขต (คนต่างจังหวัดแต่ขอใช้สิทธิในกรุงเทพฯ หรือตามสถานที่ใกล้เคียง)
https://www.bora.dopa.go.th/Election/Elecenter/outvote/enq/index.php
2. ตรวจสอบรายชื่อผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร (คนอยู่ต่างประเทศแต่ขอใช้สิทธิ โดยมีสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่เป็นผู้จัดการเลือกตั้งให้)
https://www.bora.dopa.go.th/Election/Elecenter/popout/enq/index.php
หลักฐานใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วก็ได้ใช้
- บัตรหรือหลักฐานอื่นของทางราชการที่มีรูปถ่าย และหลายเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก อาทิเช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง
ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกตั้ง
1. ตรวจสอบรายชื่อและลำดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือ กตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือจากหนังสือแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ส่งไปยั งเจ้าบ้าน
2. ยื่นบัตรประชาชน และลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง
3. ลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ด้วยลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบั ตรเลือกตั้ง พร้อมรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ คือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
4. เข้าคูหาลงคะแนน ทำเครื่องหมาย x ลงในช่องทำเครื่องหมาย
สำหรับการเลือกตั้ง 2562 รับบัตรใบเดียว กาได้เบอร์เดียว (จะได้ผล 3 อย่าง ส.ส.เขต ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายกรัฐมนตรี)
- หากไม่ต้องการเลือกใครหรือพรรคการเมืองใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาทฝนช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน
5. พับบัตรเลือกตั้งทั้ง 1 บัตร ให้เรียบร้อย และใส่บัตรทีละบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทด้วยตน เอง
การแจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
หากในวันเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถใช้สิทธิ เลือกตั้งได้เพราะมีกิจธุระจำเป็น ต้องไปแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต่อนา ยทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเทียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเพื่อเป ็นการป้องกันไม่ให้เสียสิทธิ 3 ประการ
การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
1. มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
2. เจ็บป่วย พิการ สูงอายุ ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้
3. พิการ หรือสูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
4. เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
5. มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กม.
6. มีเหตุสุดวิสัยอื่นที่ กกต.กำหนด
ตัวอย่างบัตรที่จะใช้เลือกตั้งในปี 2562
ดูนโยบายของพรรคการเมือง
ที่มาของรูปภาพ: www.kapook.com
ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ก TSNParty, DemocratPartyTH, FWPthailand, ChartpattanaParty, Prachachatbangkok, PueaChatOfficial, Sudaratofficial, Chadchartofficial, AnutinC, Prayutofficial, Sereepisutht, WanMuHaMadNorMaTha,Nahathaieducator, Chartthaipattana.or.th, Parliament.go.th, Chartpattana.com
ข้อมูลเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1)พุทธศักราช 2554 กำหนดให้มี ส.ส. มีจำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่ ส.ส.แบบแบ่งเขต จำนวน 375 คน และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 125 คน
:: ส.ส. แบบแบ่งเขต ::
ส.ส.แบบแบ่งเขต คือ ส.ส. ที่มาจากเขตเลือกตั้งโดยการแบ่งเขตเลือกตั้งประเทศออกเป็น 375 เขต เกิดจากการคำนวณราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานทะเบียนราษฎร ที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนว น ส.ส. 375 คน เช่น ราษฎรทั้งประเทศ จำนวน 63,878,267 ล้านคน หารด้วย 375 ก็จะได้ค่าเฉลี่ยราษฎร 170,342 คน ต่อ ส.ส. 1 คน หลักการนี้มาจากเหตุผลที่ว่า แต่ละเขตเลือกตั้งควรมี ส.ส. จำนวนเท่าเทียมกันโดยประชาชนหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงเท่ากัน มีความ เสมอภาคกัน ไม่ว่าจะมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ใด หรือจะยากดีมีจน เป็นชาวไร่ ชาวนา หรือเศรษฐีก็มีสิทธิที่เท่าเทียมกัน การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตให้ทำเครื่องหมาย x กากบาทเลือกได้เพียงหมายเลขเดียวหรือเบอร์เดียว ดังที่เรียกว่า “เขตเดียว เบอร์เดียว”
:: ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน ::
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ คือ ส.ส. ที่มาจากการเลือกตั้งในแบบบัญชีรายชื่อ โดยพรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครไว้เพียงบ ัญชีเดียว เรียงลำดับจำนวนไม่เกิน 125 รายชื่อ รายชื่อใครจะอยู่ลำดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละพรรคจะดำเนินการ การเลือกตั้งแบบนี้ถือประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง หมายถึงทั้งประเทศ จะมีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อชุดเดียวกัน
การลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ให้ทำเครื่องหมาย x กากบาท เลือกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียว ได้เพียงหมายเลขเดียว หรือเบอร์เดียว นั่นก็หมายถึงผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อในสังกัดของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบนั่ นเอง ส่วนที่ว่าพรรคใดจะได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจำนวนเท่าใดก็ขึ้นกับว่าพรรคนั้นๆ จะได้รับคะแนนเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด โดยผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งต้องมาจากบัญชีรายชื่อเรียงตาม ลำดับจนกว่าจะครบจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองได้รับ โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
1. นำคะแนนของทุกพรรคมารวมกัน (คะแนนพรรค ก. + .... + คะแนนพรรค ซ. = 30,300,000)
2. แต่ละพรรคจะที่ในที่นั่งเท่าไร ใน 125 ที่นั่ง สมมติ พรรค ก. ตามตารางได้คะแนน 12,600,000 คะแนน ให้เอาคะแนนที่ได้หารด้วยคะแนนรวม
นั่นคือ 12,600,000 / 30,300,000 = 0.4158
3. นำผลจากข้อ 2 ไปคูณด้วย 125 จะได้ 0.4158 x 125 = 51.975 ..... หมายความว่า พรรค ก. ได้ที่นั่งแบบเต็มก้นไปแล้ว 51 คน
เก็บเศษไว้ Fight กันต่อ
4. เนื่องจากเป็นการลงคะแนนแบบรายบุคคล มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะได้ตัวเลขในข้อ 3 แบบกลมๆ
ดังนั้น ให้เอาจำนวนที่นั่งแบบเต็มก้นของแต่ละพรรคมารวมกัน จากตัวอย่างได้ 120 ที่นั่ง นั่นคือ เหลืออีก 5 ที่นั่ง ไปต่อกันข้อ 5
5. เอาเศษจากข้อ 3 ของแต่ละพรรคมาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย หมายความว่า พรรคที่มีเศษมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้ไปเลยอีก 1 ที่นั่ง
ที่มาของรูปภาพ: https://f.ptcdn.info/438/044/000/oafzjapxtemM0cT9WVh-o.jpg
ที่มาของรูปภาพ: https://thestandard.co/wp-content/uploads/2019/02/เลือกตั้งล่วงหน้า-.jpg